Digital City การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการเมือง เทศบาลนครขอนแก่น

แต่ละ “เมือง” ต่างก็มี “ของดี” เราจึงหาวิธีการที่จะทำให้เมืองเหล่านี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อแบ่งปันความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แต่ละเมืองใช้ในการขับเคลื่อนเมืองตามแนวทางของเมืองอัจฉริยะที่คนในเมืองเป็น “บุคคลที่ตื่นรู้” จากต่างคนต่างอยู่มาสู่การร่วมมือร่วมใจกันสรรค์สร้างเมืองของตน ไม่เกี่ยงว่าเป็นรัฐหรือเอกชน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การคมนาคมขนส่ง การใช้ชีวิตของผู้คนโดยมีเทคโนโลยีเป็นระบบสนับสนุน ให้ทุกคนมีโอกาสได้อยู่ในเมืองที่เรียกว่า “เมืองอัจฉริยะน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

13 กันยายน 2567 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมระหว่างเทศบาลเมืองตาคลี นำโดย นายกเพลินพิศ ศรีภพ และนายกธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ เทศบาลนครขอนแก่นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงเกิดขึ้น ทั้งระบบการชำระไฟฟ้า น้ำประปา ระบบร้องเรียน และอื่น ๆ อีกมากมายของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง ผลักดันให้เกิดการเป็นเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คณบดีรศ.ดร.รัชพล สันติวรากร และผศ.ภานุพงษ์ วันจันทึก ศูนย์วิศวกรรมพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์ Digital Transformation มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา เมืองพัทยา ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ และอาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย สนับสนุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)