บพท. หนุนขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ให้กับนายกเทศมนตรีทั่วประเทศด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ กับหลักสูตร พมส. ครั้งที่ 3 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน
ครั้งที่ 3 กับการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ให้กับนายกเทศมนตรีทั่วประเทศด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ กับหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1
ในวันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กับหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ภายใต้หัวข้อ “Smart local government” ข้อมูลเคลื่อนเมือง ยกระดับท้องถิ่นไทยด้วยข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ลงมือปฎิบัติการบนฐานของงานวิจัย และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วม และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เริ่มต้นด้วยการ เล่าวิสัยทัศน์ผู้นำ ให้กับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นและภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 150 คนที่เข้าร่วมทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์
โดยท่านแรกได้รับเกียรติจาก นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองสนั่นรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี อันมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ “งานทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงได้ ต้องเริ่มจากคนก่อน และพัฒนาคนให้ทันต่อเทคโนโลยี แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาในองค์กรก็จะเป็นเรื่องง่าย เพราะแม้จะมีเทคโนโลยียังไง แต่คนใช้ไม่เป็นก็เปล่าประโยชน์” พร้อมเล่าถึงรูปแบบการทำงานของตน ว่า การที่จะได้รับความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น 1) การที่ตนตื่นตัวอยู่เสมอ 2) คืนประโยชน์ให้ชาวบ้านได้รับเท่ากันหมดทุกคนและคิดเสมอว่าทุกคน คือเพื่อน เราต้องเป็นผู้ให้ก่อน ให้ในที่นี้คือ “ให้ใจ” สนิทเหมือนเป็นพี่น้องในการทำการร่วมกัน 3) และแม้ตนคือ ตัวแทนของเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ แต่ทว่าไม่ได้ยึดติดหรือลุ่มหลงในตำแหน่งนั้นๆ แต่กลับสร้างศรัทธาให้เกิดจากทำงานที่ต้องทำตามนโยบายให้ได้ พร้อมปิดท้ายสิ่งที่อยากเน้น คือ “ประสบการณ์พัฒนาคนที่ได้ใจคน คือสนใจคนที่จะให้เกียรติทุกคนทุกฝ่าย”
ด้าน นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าถึง “การอาศัยการถักทอความร่วมมือของเครือข่ายใน 3 เรื่องหลักๆ คือ 1 การแก้ไขปัญหาจราจร การจัดการขยะ และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากพร้อมกับสะท้อนวิธีคิดว่าในอดีต ตนยึดติดมิติเชิงพื้นที่แต่ในปัจจุบัน ตนคิดที่จะทาบทามเครือข่ายอื่น มาร่วมแรงร่วมใจในการช่วยกันแก้ปัญหา พร้อมกับยึดมั่นแนวทางการบริหาร ที่ว่า “การมีส่วนร่วม โปร่งใส และการกระจายอำนาจ” และในปัจจุบันในการบริหารของตน ได้วิเคราะห์สถานการณ์โลก เพื่อนำมาบริหารเมือง อย่างที่เห็นว่าจังหวัดขอนแก่นมีความเป็นสมาร์ทซิตี้และไมค์ซิตี้ คือตนมองว่าโลกยึดอะไรเป็นมาตรฐานสากล ตนก็จะทำมันให้เกิดขึ้นได้จริงและพัฒนาให้สมสมัย และด้วยในยุคปัจจุบันที่มีข้อจำกัดในการบริหาร แนวทางในการบริหารเทศบาลจึงได้มีการทำโครงการพิเศษขึ้น โดยมีลักษณะที่เรียกว่า ให้คนทุกกลุ่มคนสามารถเข้ามาร่วมสะท้อนได้ มีลักษณะเหมือนเป็นการเสนอต่อสภาเมือง ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นว่าอะไรที่ควรทำ เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมนั่นเอง ดังจะเห็นจากข้อมูลข่าวของเทศบาล อาทิ การจัดตั้งบริษัทจำกัดของ 5 เทศบาลในการสร้างเส้นทางรถไฟ LRT” พร้อมปิดท้ายสิ่งที่อยากเน้น คือ “ขอนแก่นเป็นเมืองโปร่งใส มีส่วนร่วม และทุกคนรักบ้านเกิด”
ต่อด้วย นางสาวนันทนิตย์ จิตหนักแน่น นายกเทศมนตรีตำบลหนองกี่ อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ เล่าวิสัยทัศน์ในการบริหาร ดังนี้ “คนในพื้นที่ต้องได้มีส่วนร่วม ในฐานะเจ้าของพื้นที่อย่างแท้จริง โดยตนมียุทธศาสตร์ ที่ว่า “เมือง” ต้องเป็นเมืองน่าอยู่ โดยเมืองน่าอยู่ในที่นี้ คือในระบบโครงสร้างพื้นฐานประชาชน ต้องสามารถเลือกได้เองว่า เขาต้องการอะไร และเทศบาลมีหน้าที่ที่จะต้องไปวิเคราะห์ และทดสอบว่าแบบที่ประชาชนต้องการนั้นสามารถเป็นไปได้ไหม และส่งมอบสิ่งเหล่านั้นให้กับประชาชนและมองว่าทุกตารางนิ้ว ต้องเป็นความรับผิดชอบของเมืองหน้าด่าน “หนองกี่” ที่ทุกบ้านจะต้องมีกล้อง CCTV และตนยังได้เน้นยุทธศาสตร์ที่ว่า “การพัฒนาคุณภาพชีวิต”ที่ทุกพื้นที่จะต้องมีการศึกษาที่ดี ลูกหลานจะต้องปลอดภัย และ “ด้านสิ่งแวดล้อม” ได้เน้นเสมอว่า หนองกี่จะต้องเป็นแหล่งอารยธรรมที่หลากหลาย และดึงเอาทักษะของคนในพื้นที่มาสร้างรายได้ให้กับเขาเอง พร้อมชูจุดเด่น “เมืองหน้าด่านที่ห้ามผ่าน แต่ต้องแวะ คือ ตนเปลี่ยนจากการเป็นเมืองผ่านให้เป็นเมืองหน้าด่านโดยเริ่มต้นจากการพัฒนาคุณเมืองที่ให้ทุกคนเป็นเจ้าของในการพัฒนาเมืองพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของทุกส่วน เพราะจะได้มองเห็นเป้าหมายและพร้อมทำไปด้วยกัน อย่างตรงเป้า”
ภายหลังจากการเล่าวิสัยทัศน์ผู้นำ นายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้ประกอบการร่วมทุน บริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนนเจอร์ จำกัด ได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ เรื่องยกระดับท้องถิ่นไทยด้วยข้อมูลเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ ด้วย โดยการปูพื้นฐานให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจร่วมกันก่อนว่า DATA คืออะไร มีประโยชน์อย่าไรและก่อนที่จะนำเอา “ปัญญาประดิษฐ์” มาเป็นกลไกทำให้เกิด Digital Transformation อะไรที่จะต้องมีความพร้อมก่อน ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มีการเสริมยุทธศาสตร์ในการบริหาร ที่ตนอยากให้ผู้นำพึงมี อันประกอบด้วย จะต้องมีการวัดผลผู้นำ วัดผลคน และมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการประมวลผล เพื่อสร้างการ Transformation พร้อมกับเล่าให้เห็นความสำคัญที่ว่า การที่จะ Transformation ได้ต้องมี DATA ที่พร้อมก่อน เพราะว่าพอได้ DATA ที่พร้อมแล้ว ถึงจะนำ Ai มาใช้ในการทำงานเพื่อสร้างมูลค่า ให้กับข้อมูลนั้น ๆ ได้ พร้อมยกตัวอย่าง Smart Healthy ของเมืองนอกและเมืองไทย คือเราจะต้อง และมีแพลตฟอร์มดิจิตอลเมืองที่มีความยืดหยุ่นสูง ยิ่งไปกว่านั้นยังชี้ให้เห็นถึงการออกแบบเมืองโดยการขับเคลื่อนเมืองดิจิตอลสมาร์ทดาต้า ซึ่งคนในเมืองจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ทว่าข้อมูลนั้นจะต้องมีการจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัย คือใช่อยู่ว่ามีการเปิดใช้โอเพ่นดาต้าจริง แต่ใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้นตามข้อจำกัดและความเหมาะสม
ตามต่อด้วย เรื่อง Big Data สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างอัจฉริยะและยั่งยืน โดย ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “อยากให้ทุกคนมีความเข้าใจและให้ความสำคัญก่อนว่า IoT คืออะไร และจะสร้างอะไร พร้อมยกตัวอย่างภาพเมืองในปัจจุบันและในอนาคตกับการเข้ารับข้อมูล ผ่านระบบข้อมูล พร้อมเล่าถึง 3 องค์ประกอบของความฉลาดของเมือง คำว่าความฉลาดในที่นี้ คือเข้าถึงได้ง่ายเพราะระบบ digital จะมาทำให้เมืองฉลาดขึ้น ผู้นำจะต้องสนับสนุนให้ IoT มาทำให้ทุกอย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกตัวอย่างแนวคิด ความชาญฉลาดของเมือง ว่าจะทำได้อย่างไร เริ่มต้นจากการที่ทุกคนต้องเข้าใจว่าเราจะนำข้อมูลไปใช้วางแผนอะไร หรือไปตรวจสอบห รือไปประมวลผลอะไร เพราะสิ่งนั่นจะทำให้เรามีวิธีการใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง และก่อนที่เรามีวิธีการใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของข้อมูลก่อน และออกวิธีและออกแบบวิธีประมวลผล การเก็บข้อมูล ที่จะทำให้เราได้ทั้งงานและได้สรุปตอนท้ายที่ถูกถูกต้อง และมองเห็นภาพในอนาคตต่อว่าเราจะมีการรองรับสถานการณ์ข้างหน้าอย่างไร และปิดท้ายสิ่งที่อยากเน้น คือให้ผู้นำทุกคนมีวิธีคิดในการนำข้อมูลของในพื้นที่ตนเองออกมาใช้ภาพในรูปแบบดิจิตอลให้ได้”
ปิดท้ายการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ให้กับนายกเทศมนตรีทั่วประเทศด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ กับหลักสูตร พมส. ครั้งที่ 3หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน โดยการสะท้อนผลแบบสุนทรียะ และพัฒนาโจทย์วิจัย โดยผู้บริหารของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม และ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ที่ได้มีการมาระดมสมอง ขมวดประเด็นว่า เมืองน่าอยู่จะมีการนำเอาดิจิตอลมาใช้ในการตัดสินใจให้ได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร และมุ่งสู่โอกาสอย่างไร และเมืองของทุกท่านจะเป็นเมืองที่พร้อมสร้างโอกาสได้หรือยัง