“การส่งเสริมวิจัยด้านการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ” อย่างยั่งยืน
ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการ สู่ “การส่งเสริมวิจัยด้านการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ” อย่างยั่งยืน กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.)
ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) พร้อมส่งเสริมวิชาการที่เป็นเลิศด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความยั่งยืนในประเทศไทย โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ในฐานะ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้นำคณะทำงาน ร่วมเรียนรู้งาน และทำความเข้าใจกับแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยและทิศทางการทำงาน ภายใต้แผนงาน “การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่กลไกพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ” ปีงบประมาณ 2565 ในงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การส่งเสริมวิจัยด้านการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ” ระหว่างสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พร้อมร่วมรับฟังเสวนาแลกเปลี่ยน หัวข้อ “รูปแบบการประสานความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น” ณ ห้องจามจุรีบอลรูม A และ B ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
พร้อมกันนี้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ยังได้รับเชิญให้เป็นผู้ดำเนินรายการ ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยน หัวข้อ “รูปแบบการประสานความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายขจร เราประเสริฐรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร. เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็น
สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเมือง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ภายใต้กลไกการพัฒนาเมือง ซึ่งประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย (Housing Development Policy) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเดินทางในเมือง (Urban Mobility Development Policy) และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมืองสู่ศูนย์เศรษฐกิจ ( Urban Economic Growth Pole Development) โดยมี 4 กลไกการขับเคลื่อนกลไกพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมือง ได้แก่ 1) การพัฒนาความ ร่วมมือทางสังคมของเมือง (Urban Collaboration and Institution Arrangement) 2) การพัฒนาเครื่องมือ ทางการเงินและการจัดการทุนของเมือง (Urban Financial Institution and Instrument) 3) การพัฒนา ข้อมูลและองค์ความรู้ของเมือง (Urban Open Data and Knowledge Management) และ 4) นโยบาย และแผนพัฒนาของเมือง (Urban Policy and Planning) เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนึ่ง จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตชนบท (อบต. อบจ. และเทศบาล) ที่นำองค์ความรู้และนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่พัฒนาหรือได้รับการถ่ายทอดไปใช้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนา และ/หรือการลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตหรือยกระดับการพัฒนา สังคมและสิ่งแวดล้อมกระจายทั่วประเทศ เกิดการกระจายความเจริญและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ สังคมท้องถิ่นด้วยความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ในส่วนของ ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เป็นหน่วยงานภายในสังกัดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทหน่วยงานที่จัดตั้งตามภารกิจเฉพาะหรือตามยุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) และด้านการจัดการภาครัฐดิจิทัล (digital governance) ของประเทศไทย ให้บริการวิชาการและฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) และการจัดการภาครัฐดิจิทัล (digital governance) และเป็นศูนย์การทดสอบเทคโนโลยีและแนวความคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Testbed: SCT) ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองจริง จึงพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ด้านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ในการพัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยในการพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อให้งานในโครงการต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายได้