ครั้งที่ 5 กับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2
ครั้งที่ 5 กับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2 บนปฏิบัติการเพื่อ “พัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน”
หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 นั้น ได้มีการจัดประชุมปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ภายใต้ตัวบทปฏิบัติการ “พัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน” ขึ้นในระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2566 โดยครั้งนี้จัด เป็นครั้งที่ 5 และได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมเชิญผู้นำท้องถิ่นเข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน เพื่อเป็นการถอดบทเรียนให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ได้เกิดองค์ความรู้ นำไปปรับใช้และนำมาปฏิบัติ
สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง วันที่ 29 มีนาคม 2566 เริ่มต้นด้วย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ กล่าวทบทวนเป้าหมายการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. อันมีใจความโดยสังเขปดังนี้ “ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Green Economy รวมไปถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว เราจะนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมถึงระดับโลกได้อย่างไร และยังมีการพูดถึงการกระทำของท้องถิ่นในการที่จะพัฒนาโจทย์และหาวิธีแก้ไข พร้อมทั้งสนับสนุนทุน ความรู้ และความร่วมมือกับประเทศ ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ climate change นั้นถือว่าสำคัญมากกับหลายหน่วยงาน และเราจะเคลื่อนตัวอย่างไรให้โลกมีการพัฒนาที่ยั่งยืน” เราสามารถหาคำตอบได้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ ต่อด้วย ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มีการกล่าวเสริมเพื่อทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา จากหลากหลายวิทยากรซึ่งกล่าวว่า “กิจกรรมที่ผ่านมาได้ทั้งองค์ความรู้ วิธีการแก้ไข แนวคิดการจัดการของทุกภาคส่วน ซึ่งในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พมส. 2 จะให้ความสำคัญถึงการ save earth แต่ไม่ใช่การใช้แนวคิดในการแข่งขันกัน แต่เป็นการเน้นการร่วมมือและการมีส่วนร่วม พร้อมที่จะผลักดันโลกให้เคลื่อนตัวไปในทางที่ยั่งยืนโดยภาคเอกชนและภาครัฐต่อไป”
ต่อด้วยการสะท้อนวิสัยทัศน์ผู้นำ โดย นายพรชัย จงภักดี ที่ปรึกษาบริษัทแปซิฟิกโทรคมนาคมและโทรศัพท์ จำกัด อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “ในการทำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จมีวิธีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในฐานะที่มีบทบาทด้านสังคม รวมไปถึงในแง่ของธุรกิจ รวมไปถึงในอนาคตที่จะมีการส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อสืบทอด ซึ่งการเริ่มต้นธุรกิจด้านโทรคมนาคนนั้น ขั้นแรกของชีวิตในการทำงาน การที่เราได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศทำให้เรามองเห็นรูปแบบการทำงานและเชื่อว่าดการเปิดหูเปิดตาช่วยให้มีวิธีคิดในการทำงานได้ รวมไปถึงความสำคัญในด้านของการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพ การเปิดโอกาส จนเป็นจุดเริ่มต้นของการนำการจัดการท่องเที่ยวมาให้กับสมาชิกสหกรณ์ในมหาวิทยาลัยจนประสบผลสำเร็จ ดังนั้นในฐานะผู้บริหารและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา เราอย่ามองข้ามในเรื่องของการคิด การพัฒนา ควรให้โอกาสได้ลงมือทำ และให้ความสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”
และวิสัยทัศน์ผู้นำของ นายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิชย์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า “ด้วยความที่ผูกพันกับระบบท้องถิ่น และเป็นเอกชนในท้องที่จึงต้องพึ่งพาราชการท้องถิ่นด้วยกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากปัญหาที่ผ่านมานั่นคือปัญหาโควิด-19 ทางเอกชนเราได้มีบทบาทและกลไกในการช่วยเหลือรวมไปถึงจัดหาสิ่งจำเป็นเพราะบางครั้งในส่วนของรัฐบาลไม่สามารถจัดหาได้ทันท่วงที และเชื่อเสมอว่านอกจากรัฐบาลถ้าภาคเอกชนเข้มแข็งจะเป็นกลไกในการช่วยเหลือรัฐบาลได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งยกตัวอย่างวิสัยทัศน์หลักที่นำมาปรับใช้ หรือเป็นกลไกสำคัญ ได้แก่ หลัก HEAVEN และนอกจากนั้น หอการค้ายังให้ความเชื่อถือ ให้ราชการเกิดความเข้าใจ นอกจากบทบาทของภาคเอกชน การร่วมมือกับภาครัฐและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนนั้นจะทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชน บทบาทสำคัญ มองเรื่องบทบาทความเป็นผ๔นำในการอำนวยความสะดวก การเห็นใจ และทำอย่างไรให้เกิดความเห็นใจมากที่สุด ดังนั้นทุกภาคส่วนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน”
จากนั้นเป็นการให้ความรู้ เกี่ยวกับ BCG กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดย รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ที่ปรึกษา บริษัทมิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ดังนี้ “BCG นั้นเป็นโมเดลในการขับเคลาอนเศรษฐกิจในสังคม ไม่ว่าจะในเชิงโลกหรือท้องถิ่นเอง ประชาชน ระบบอุตสาหกรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มลพิษทางอากาศ PM 2.5 ซึ่งมองเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้อุณหภูมิโลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และกระทบกับหลายภาคส่วน BCG เลยมีกลไกในการพัฒนาจัดการอย่างยั่งยืน sustainable development goals ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะเป็นตัวชี้วัดในการจัดการ และยังมีการพูดถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้โมเดลของประเทศไทย Bio Circular Green ซึ่งในโมเดลจะมีหลักการสำคัญในเรื่องของ 1.Argribusiness ที่พูดถึง เกษตรและอาหาร ซึ่งส่วนนี้ประเทศไทยจำเป้นต้องมี 2.Bioenergy and Biochemicals 3.Medical and wellness tourism และสุดท้ายมองถึง Science and technology และยังมีการพูดถึง BCG Economy model เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ดี มีสุข ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ยั่งยืน ซึ่งมองว่าถ้านำโมเดล นี้มาใช้ เราก็สามารถมีความสุขกันไปยาวๆ การใช้หลัก swot เข้ามามีบทบาทรวมถึงกำหนดทิศทางก็สำคัญเช่นกัน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและสามารถขับเคลื่อนให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้”
ต่อด้วย เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดย นายแพทย์ สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล ประธานกรรมการ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “เชื่อว่าโลกร้อนส่งผลกระทบต่อประชากรบนโลกอย่างมากเช่นเดียวกัน การให้ความสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่ป่า เห็นคุณค่าของการทำเกษตรเชิงนิเวศน์ ให้ทุกภาคส่วนมีการทำงานร่วมกัน รวมถึงการถอดบทเรียนในการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่ และมีการเชื่อมโยงกับ บพท. รวมถึงภาคอื่น ๆ และยังมองว่าการทำเกษตรในเชิงนิเวศน์นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง และยังเป็นทางรอดได้อีกด้วย รวมไปถึงการให้ความรู้ในเชิงกฎหมายป่าไม้ในส่วนที่ให้ประโยชน์กับประชาชนในอนาคต และเชื่อว่าการทำระบบนิเวสน์ป่าไม้ตามที่ได้ลงมือทำไปนั้นสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ได้อย่างดี ถ้าถามถึงความท้าทายในการสร้างเศรษฐกิจใหม่จากโครงการที่ได้ทำไปนั้นมีส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญอยู่เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูล ต่อยอดเชิงประจักษ์ ภาคีเครือข่าย รวมไปถึงการสร้างกลไกในการต่อยอดต่อไปได้ ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคต ควรตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในการมองระยะยาว เยาวชนคนรุ่นใหม่จะทำอย่างไรให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าสีเขียว และลงมือทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งแวดล้อมที่ดีกลับคืนมา”
ด้าน ดร.อมรวรรณ เรศานนท์ ผู้อำนวยการด้านพลังงานสะอาดและยั่งยืน USAID Southeast Asia’s Smart Power Program ได้มีการพูดถึง Local Action Responding to Climate Change ดังนี้ “ในการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้น เกิดผลกระทบต่อชีวิตเป็นอย่างมาก แล้วเราจะทำอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงนั้น มีแนวคิดอย่างไรที่จะสามารถตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และการทำงานมันสามารถตอบโจทย์ ทั้งในเรื่องของยุทธศาสตร์ พันธสัญญาต่างๆ รวมไปถึง smart city ด้วย เชื่อว่าภาวะโลกร้อนมีการเดินทางไปมาของมันอยู่เสมอ มีเรื่องราว และในเรื่องของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ยังต้องมีเรื่องของพันธกิจในการพัฒนาร่วมด้วย รวมทั้งเครื่องมือในการทำให้เห็นศักยภาพ หรือหลัก city carbon footprint รวมถึง carbon และยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเมืองร่วมด้วย”
ในส่วนของ นางสาวขวัญใจ สัจจาธรรม ผู้จัดการโครงการ Low Carbon Society, UNDP มองว่า “กิจกรรมที่เกิดขึ้นมากมายก่อให้เกิดโลกร้อน ยกตัวอย่างปัญหาสำคัญที่ท้าทายกับทุกภาคส่วน คือปัญหาขยะ โดยทาง UNDP ได้มีโครงการต้นแบบ ร่วมกับ partner และมหาวิทยาลัย ที่จะสามารถช่วยพัฒนาให้ยั่งยืน โดยจุดเริ่มต้นของโครงการคือ การให้ชุมชนมีการคัดแยกขยะ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งโครงการนี้หลังจากทำไป ประชาชนได้ประโยชน์ และยังมีการพูดถึงเรื่องของการนำขยะไปลุ้นโชค หรือเกิดการใช้ Trash lucky platform เป็นแอพลิเคชันที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนและเป็นตัวช่วยในการจัดการขยะ ด้วยตัวโครงการมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเป็นตัวอย่าง Model ที่ท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่ง ซึ่งการดำเนินโครงการสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี”
ด้าน นายติณณภพ เลิศสินสถาพร ประธานโครงการขยะคืนถิ่นจบสิ้นที่ครัวเรือน และประธานโครงการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือน และนายพันธดนย์ เลิศสินสถาพร อาสาสมัครเยาวชนท้องถิ่นรักษ์โลก เทศบาลนครเกาะสมุย ได้เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของการกำจัดขยะเปียกชุมชน มองว่า “ปัญหาการเกิดขยะมาจากหลายท้องที่ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการขยะ และปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยได้มีส่วนร่วมกับหลายภาคีเครือข่าย และมีการแนะวิธีการจัดการขยะเปียก รวมถึงให้ทัศนคติในการจัดการแบบใหม่ โครงการต้นแบบการกำจัดขยะเปียกนั้น พัฒนาและยั่งยืนมาได้เพราะหลายภาคีมีส่วนร่วมเข้ามาสนับสนุนและด้วยหัวใจแรงกล้า และมีความเชื่อว่าท้องถิ่น เทศบาล จำเป็นต้องมีทุกช่วงอายุ ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือ และส่งเสริมการสร้างคอนเนคชันให้กับคนรุ่นใหม่ในอนาคตต่อได้อีกด้วย”
สำหรับวันที่ 30 มีนาคม 2566 เริ่มต้นด้วย รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง ระเบียบโลกใหม่โอกาสท้องถิ่นไทยอยู่ตรงไหน ซึ่งวิทยากรได้เชื่อมโยงให้เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนที่แต่ละแห่งมีต้นทางผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบที่แตกต่างกัน และจะต้องนำเอาสิ่งที่ชุมชนและแต่ละเมืองมีนำมาพัฒนา ต่อยอดให้ออกสู่ตลาดโลกได้ แม้จะมีอุปสรรคหลายอย่างแต่มีโอกาสสำหรับคนทีคิดก่อนและลงมือทำก่อนเสมอ
จากนั้นเป็นการเรียนรู้เรื่อง พลังงานกับโอกาสของพัฒนาเมือง โดย ดร.ทรงกฤต ตรีรัตน์พิจารณ์ ที่ปรึกษาบริษัท บูรพา เทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ได้มาขมวดความรู้เรื่องของพลังงานในการพัฒนาเมืองดังนี้ “พลังงานนั้นสำคัญกับโอกาสการพัฒนาเมือง โดยมองว่าพลังงานกับท้องถิ่น นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเชื่อว่าถ้าทำพลังงานให้ถูกทาง ก็จะกลายเป็นโอกาสในการพัฒนาเมือง พลังงานจะทำให้เมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับ Trend ของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดึงแนวคิดการจัดทำแผนอนุรักษ์ รวมถึงทิศทางที่จะเข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมการใช้งานพลังงานให้กลายเป็นเมืองแห่ง Smart City ต่อไปในอนาคตให้กับทุกภาคส่วน”