ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร พมส.2 ร่วมเรียนรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืน”
ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.2) (City Development Executive Program : CDE 2) ร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเชิงพื้นที่มาวิเคราะห์ และเสริมสร้างศักยภาพองค์กรของเทศบาล และเมืองในการกำหนดกรอบการลงทุน และแนะนำโอกาสในการใช้ประโยชน์จากการเงิน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืน”
ด้วยหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.2) (City Development Executive Program : CDE 2) ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อันมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 นั้น มุ่งยกระดับนักบริหารสู่นักพัฒนาเมืองตนเอง และสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนแนวคิด การหาโอกาสในการสร้างสรรค์โครงการเศรษฐกิจใหม่ให้กับเมือง ในระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2566 จึงได้ร่วมสนับสนุนการจัดการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ“การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือของหน่วยบริการและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) กับธนาคารโลก (Word Bank) ภายใต้โครงการประเมินแหล่งเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมือง (Thailand Urban Infrastructure Finance Assessment : TUIF)
สำหรับการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืน” ในครั้งนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เมืองต่าง ๆ มีการวางแผนในการระดมเงินทุนสำหรับการลงทุนที่จะช่วยทำให้เมืองสามารถดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสังคม (spatial planning) โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ มีหน่วยงานทั้งจาก ภาครัฐส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.2) (City Development Executive Program : CDE 2) มาร่วมประชุม ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อหารือและเรียนรู้ร่วมกัน ถึงการนำข้อมูลเชิงพื้นที่มาวิเคราะห์ การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรของเทศบาลและเมืองในการกำหนดกรอบการลงทุน และแนะนำโอกาสในการใช้ประโยชน์จากการเงิน มาร่วมกันพัฒนา Investment Pitches หรือการสร้าง “จุดขายในการลงทุน” พร้อมการจำลองสถานการณ์การนำเสนอโครงการลงทุนของเมืองต่าง ๆ อาศัยความโดดเด่นและดึงความน่าสนใจของเมืองมานำเสนอให้แก่นักลงทุน
พิธีเปิดนั้น ได้รับเกียรติจาก ดร.Fabrizio Zarcone ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเปิดการประชุม พร้อมมี ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวต้อนรับ จากนั้นเป็นการแนะนำโครงสร้างการประชุมฯ และวัตถุประสงค์ โดย Mr. Kwanpadh Suddhi-Dhamakit, Country Officer, World Bank อันมีใจความสังเขปดังนี้ “มุมมองของทีมเวิลด์แบงก์และทีม บพท. ที่ทำงานร่วมกันมานั้น การที่จะปลดล็อคการพัฒนาในครั้งนี้ต้องอาศัยหลักการ CIA โดย C หมายถึง Collaboration หรือ Coordination ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ตัวที่สอง I หมายถึง Instrument เครื่องมือทางการเงิน ตามหลักสากล การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ได้อาศัยเพียงแค่งบประมาณจากทางภาครัฐ ต้องอาศัยการร่วมมือและงบประมาณจากภาคเอกชนด้วย จุดประสงค์ของการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” คือ การเรียนรู้นวัตกรรม เครื่องมือทางการเงินที่เทศบาลสามารถนำไปใช้แล้วทำให้เกิดการระดมทุนจากภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาเมือง ในการจะเชิญชวนให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนและพัฒนา เทศบาลนั้นๆจะต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีวิสัยทัศน์ แบบแผนและแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน จึงจะส่งลให้เกิดโครงการ การเงิน และการจ่ายคืน ซึ่งหมายถึงตัว A สมรรถภาพ ที่ต้องมีทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นด้วย”
จากนั้น Dr. Norabajra Asava-vallobh, Director of Economic Data Innovation and Research Division ได้กล่าวว่า “ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลังมีการพัฒนา spatial economic fundamental indicator หรือเรียกว่า SEFI เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาเนื่องจากภารกิจของกระทรวงคลังดำเนินนโยบายการคลัง โดยลักษณะการดำเนินนโยบายการคลังมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลักษณะของการทำ target factory ยกตัวอย่างเช่น หากเลือกสนับสนุนอุตสาหกรรม เป้าหมายที่กำหนดไว้จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว อย่างนี้เป็นต้น ปัจจุบันทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนรูปแบบการสำรวจจากเดิมที่เป็นการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเป็นการสำรวจเป้าหมายเชิงพื้นที่แทน ดังนั้น SEFI จะไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบนโยบายการคลังอย่างเดียว แต่จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐในการที่จะออกแบบนโยบายสาธารณะ การพัฒนาเชิงพื้นที่กระทรวงคลังมีเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการคลัง อยากที่จะบรรลุให้เกิดในเรื่องของการครอบคลุมในระยะยาว ทั้งนี้การที่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน จำเป็นต้องมีข้อมูลในเชิงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือว่า economic fundamental สามารถใช้ตัว SEFI ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ โดยสังเกตุว่าพื้นที่ไหนมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เพื่อที่การดำเนินนโยบายสามารถที่จะจัดความสำคัญว่าที่ไหนมีความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหามากกว่ากัน”
ด้าน Dr. Poon Thiengburanathum, Deputy Director of Program Management Unit on Area Based Development ได้กล่าวถึงการวางแผนและการพัฒนา ดัชนีวัความพร้อมการพัฒนาเมือง โดยเบ่าว่า “การวิจัย หรือวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับทาง bank ซึ่งพบว่ามีช่องว่างของการพัฒนาเชิงพื้นที่รวมถึงการพัฒนาเมือง ที่มันมีช่องว่างขนาดใหญ่มาก และสิ่งที่สำคัญคือการวางรากฐานให้คนรุ่นต่อไปเพื่อที่จะได้มีแผ่นดินที่มีโอกาสมากขึ้น โดยใช้บาทของทาง PMUA หรือว่า บพท. ดังนั้นบทบาทของผู้บริหารก็คือเป็น catalyst for changes และรวมพลังกันเพื่อที่จะ access ให้มันสู่ความยั่งยืนโดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาเมืองซึ่งถือว่าเมืองคือจุดแตกหัก ได้อธิบายถึงว่าเมืองก็คือ สิ่งหนึ่งที่เราประดิษฐ์ขึ้นมา สิ่งประดิษฐ์ที่สําคัญมากในระบบโลก และเมืองคือสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งมนุษย์ได้รังสรรค์ขึ้นมา รวมไปถึงเรื่องของ hard infrastructure หรือ soft infrastructure การให้ความหมายที่แท้จริง การมีนโยบายสาธารณะ รวมทั้งกลไกความร่วมมือกันหรือ source intelligent ซึ่งได้มีการร่วมมือกันในเรื่องนี้ และหนึ่งใน source intelligent ก็คือ กลไกทางการเงิน เพราะเชื่อว่าเมืองไม่ได้เกิดขึ้นจากสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะต้องถูกสอดคล้องกับแผนฉบับ 13 คือแผนที่มีเป้าหมาย การจัดการ เพราะสิ่งที่สำคัญคือการทำให้ทุกคนได้ค่อยๆเห็นร่วมกันเห็นภาพเดียวกันว่าเมืองที่ต้องการเป็นอย่างไร
และได้พูดถึงบทสรุปว่าดังนั้นเมืองที่น่าอยู่ในนิยาม จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่เมืองที่สวยอย่างเดียว หรือว่าเมืองที่ร่ำรวยอย่างเดียว แต่โดยความหมายในภาพใหญ่ เมืองที่น่าอยู่ คือเมืองแห่งโอกาส เมืองที่โอกาสสูง ความเสี่ยงต่ำ วันนี้เมื่อก่อนเป็นเมืองที่น่าอยู่มากแต่ว่าข้อจำกัดมันยังขึ้นไปได้อีกทางสังคม ทางวัฒนธรรม ทางทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทุนให้เกิด investment คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการคิดนอกกรอบของการพัฒนาจึงไม่ได้จำกัดที่เงิน”
ต่อด้วย Dr. Chanakod Chasidpon, Director of City Development Strategy Office พูดถึงการวางแผนและการพัฒนา การจัดทำแผนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและการประสานแผนระดับพื้นที่ เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนาเมือง โดยได้กล่าวถึง “แผนในเรื่องของงบประมาณการพัฒนาท้องถิ่นฯ โดยอธิบายถึงแผนซึ่งกล่าวว่าแผนที่ใช้ในการพัฒนานั้นประกอบด้วยแผนแรก คือระดับแรกยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นการวางเป้าหมายประเทศระยะยาว ถ่ายทอดลงมาเป็นระดับที่สอง คือแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งที่เราเรียกว่าเป้าหมายและแนวทางพัฒนาภาคมีแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นสิ่งที่บอกว่าจังหวัดสามารถของบได้ แล้วเริ่มมีการของบ มีกลไกที่ช่วยรวบรวมโครงการเหล่านั้นซึ่งหน่วยงานตอนนั้นที่รับผิดชอบหลักจะเป็นหน่วยงาน กพร. ต่อด้วยระเบียบสำนักนายกขึ้นมาฉบับหนึ่งซึ่งแผนฯ 12 แผนหลักก็คือแผนแม่บทกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติหรือแผนชาติ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอันนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม สำหรับท้องถิ่นหน้าที่หลักของผู้บริหารรวมถึงพรบ.กระจายอำนาจเรื่องของแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีอนุก็เป็นโครงสร้างโดยทั่วไป ชุดใหญ่จะต้องมีอนุกรรมการระดับภาค 5 คณะ แล้วก็มีส่วนที่เป็น ก.บ.จ คือกรรมการบูรณาการระดับจังหวัดแล้วก็กลุ่มจังหวัดยาวลงมาจนถึงหมู่บ้านชุมชน one plan คณะกรรมการหมู่บ้านคณะกรรมการชุมชนก็ทำแผนพัฒนาหมู่บ้านแผนพัฒนาชุมชนไล่ขึ้นไป ตำบลทำแผนขึ้นไปทั้งหมดนี้เพื่อที่จะไปเป็น input ให้กับจังหวัด แผนระดับข้างล่างที่มีแล้วจะผ่านขึ้นไปถึงข้างบนได้ หมายความว่า ถ้าทำในพื้นที่หรือพื้นที่ข้างเคียงที่ร่วมกันสามารถแก้ปัญหาได้ ระดับแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล อบต. อบจ. กระทรวงกรมไหนก็ตามที่มีแผนงานโครงการและไปทำในพื้นที่ต้องตอบโจทย์กับพื้นที่นั้นด้วย ดังนั้นแล้วการจัดสรรงบประมาณที่จะนำมาพัฒนาท้องถิ่นหรือองค์กรนั้น งบพัฒนาที่ว่าจะถูกการแบ่งออกไปตามพื้นที่นั้นเอง”
จากนั้นเป็นการเล่าวิสัยทัศน์และแผนการพัฒนาเมือง ตัวอย่างจากจังหวัดระยอง โดย Mr. Phusit Chaicham, Deputy Mayor of Rayong ความว่า “ผมคิดว่าภาคตะวันออกเป็นโอกาสของประเทศอันหนึ่ง ที่ทำให้เราสามารถเห็นความสำคัญว่าเมืองรองจะพัฒนาไปให้เท่าเทียมกับเมืองหลักอย่างกรุงเทพมหานครได้ยังไงนะครับ ผมถามว่าทำไมต้องระยอง อย่างที่บอกนะครับว่ามีอยู่ 3 เหตุผล อย่างแรกเลยคือ EV industrial นะครับ commercial area zone ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกนี้ที่ต้องการจะสร้าง Business Trend ออกไปในอนาคต ระยองยังเป็น commercial center and oldtown ที่ยังมองเห็นความสำคัญของเมืองแล้วสามารถที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในอนาคตได้นะครับ เราจะเห็นว่าผู้คนที่ไหลเข้ามาไม่ว่าจะทำงานอยู่ในมาบตาพุดก็ดี หรือใน EEC ก็มีหลายรูปแบบนะครับ ทั้ง digital nomad, skilled labor โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว มีเรื่อง green industrial zone ที่มองเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมในเชิงนิเวศ เราอยู่ในโซนของการพัฒนาแต่ว่าเรามีเมืองเก่าที่อยู่ในเขตที่สามารถเชื่อมต่อไปสู่โหนดต่าง ๆ ของการพัฒนา infrastructure ของภาครัฐ”
และความน่าเชื่อถือของเมือง เพื่อสะท้อนการดึงดูดการลงทุนระดับเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังแห่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการเงินสำหรับการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPIP) โดย Mr. Kenneth Rust อดีตผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน (CFO) เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอนและอดีตผู้อำนวยการสมาคมเจ้าหน้าที่ทางการเงินรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นในการสร้างเมืองให้ดึงดูดการลงทุนโดยจัดเป็นลักษณะหารือกลุ่มในห้องประชุม
ก่อนปิดการประชุมในวันแรก ยังได้มีการนำเสนอนวัตกรรมและเครื่องมือในการระดมทุนและการหารายได้เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะตอบโจทย์การพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืน โดย ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก อาทิ การกำกับดูแลที่ดินและเก็บมูลค่าเชิงพานิชย์ เสริมความเข้มแข็งให้กับความพยายามในการทำเทศะรังสรรค์ โอกาสในด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัย และขยะเป็นพลังงาน พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษาจากโครงการที่มีชื่อเสียงในประเทศต่าง ๆ ที่ใช้เงินทุนจากแหล่งรายได้ของท้องถิ่นเอง การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (เช่น TOD) และสาธิตกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์จากรายได้เชิงพาณิชย์และสร้างรายได้จากแหล่งรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการเมืองอัจฉริยะและโครงการนวัตกรรม (รวมถึงการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต) และสะท้อนมุมมองเมืองเรื่องระดมทุนและการหารายได้เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับวันที่ 2 ของกิจกรรม ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.2) (City Development Executive Program : CDE 2) ยังได้ร่วมเรียนรู้พื้นฐานของโครงการที่ดี อาทิเช่น การนำเสนอองค์ประกอบพื้นฐานของโครงการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชนที่ดี และประเด็นทางยุทธวิธีที่ต้องพิจารณา โดย Mr. Jeffrey John Delmon, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินโครงสร้างพื้นฐานอาวุโส ธนาคารโลก การดำเนินโครงการที่ดีในความเป็นจริง โดย คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานกรรมการ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด และการระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก
ต่อด้วยการระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาจากทั่วโลก
โดยเริ่มต้นจาก Mr. Toru Hashimoto ผู้อำนวยการแผนกความร่วมมือในการพัฒนา สำนักความร่าวมือระหว่างประเทศ นำเสนอเรื่อง การยกระดับและการฟื้นฟูเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น Mr. John Leber, เจ้าหน้าที่การลงทุนอาวุโส บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) เล่าถึง โครงการรถไฟฟ้ารางเบา Mr. Gautham Nallavari, เจ้าหน้าที่การลงทุน บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) เล่าถึงโครงการกระเช้าลอยฟ้า
และปิดท้ายวันที่ 2 ด้วยการนำเสนอการสร้าง “จุดขายในการลงทุน” (Investment Pitch) โดยมีการนำเสนอโครงสร้างและรูปแบบสำหรับการสร้างจุดขาย ตลอดจนคำแนะนำที่จะทำให้จุดขายนั้นมีประสิทธิภาพ ต่อด้วย การพัฒนาจุดขายและการนำเสนอโครงการลงทุนของเมืองให้แก่นักลงทุน โดย ผู้แทนจากแต่ละเมือง ซึ่งเป้นการเปิดพื้นที่สร้างโอกาสปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การขนส่งในเมือง ความน่าเชื่อถือของเมือง การเก็บมูลค่าที่ดิน และความพร้อมรองรับต่อสภาพอากาศ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการลงทุนของเมืองตนเอง
สำหรับวันสุดท้ายของการจัดการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ“การปลดล็อคศักยภาพเมืองและการระดมทุนเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ได้มีการการจำลองสถานการณ์การนำเสนอจุดขายในการลงทุนของแต่ละเมือง โดยแต่ละเมืองมีเวลาในการนำเสนอ 15 นาที และ ถาม-ตอบ 15 นาที พร้อมมีเจ้าหน้าที่ของกลุ่มธนาคารโลกร่วมแสดงความคิดเห็นจากมุมมองของนักลงทุน/นักการเงิน ด้วย
อนึ่ง ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างโดดเด่นตลอดช่วงระยะเวลากว่าสี่สิบปี โดยได้พัฒนาจากประเทศที่มีรายได้น้อยไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ซึ่งการขยายตัวของเมืองมีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.7 เป็นร้อยละ 52.2 ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมืองต่าง ๆ มีข้อจำกัดทั้งในเชิงศักยภาพขององค์กรและทรัพยากรอันเนื่องมาจากการพัฒนาเมืองแบบรวมศูนย์และการกระจายอำนาจทางการคลังที่จำกัด จึงทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ การสร้างรายได้จากแหล่งรายได้ของตัวเอง และการดึงดูดเงินลงทุนจากภาคเอกชนประสบกับข้อจำกัดอย่างมาก ปัจจุบันธนาคารโลกได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยดำเนินการประเมินแนวทางเพื่อพัฒนาการระดมเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานใน 5 เมือง ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง และนครสวรรค์ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีรายละเอียดของแผนการระดมเงินทุนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบั่นทอนประสิทธิภาพและคุณภาพของการพัฒนาเมือง ตลอดจนศักยภาพในการสร้างความพร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก