หลักสูตร พมส. และ Bedrock จัดฝึกอบรมการใช้งานแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองในทั้ง 4 ด้านอัจฉริยะ ให้กับเทศบาลที่ได้รับทุนวิจัยในแต่ละด้าน
หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) และบริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด จัดฝึกอบรมการใช้งานแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองในทั้ง 4 ด้านอัจฉริยะ ให้กับเทศบาลที่ได้รับทุนวิจัยในแต่ละด้าน
จากความสำคัญของ “แฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง City Digital Data Platform (CDDP) ในโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ” เป็นแฟลตฟอร์มที่ไม่ใช่ว่าจะใช้งานได้เลยเหมือนแอพพลิเคชั่นตัวเล็กๆ เนื่องจากมีหลายๆโมดูลข้างในที่เชื่อมต่อกัน ทำให้การเริ่มต้นใช้งานนั้น ต้องมีลำดับขั้นตอนเฉพาะ ที่ทางคณะทำงานหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) และ บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัดจะต้องให้คำแนะนำก่อนเริ่มใช้งานจริง เพื่อทำการทดสอบแฟลตฟอร์ม เพื่อให้มั่นใจว่าเทศบาลที่ได้รับทุนในแต่ละด้าน ยอมรับวิธีการใช้งานจริงและไม่ติดปัญหาอะไร รวมถึงว่าระบบต่างๆ เชื่อมต่อกันได้อย่างถูกต้องและราบรื่น
ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 กำหนดให้มีการจัดอบรมการใช้แฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองให้กับทางแต่ละเทศบาลที่ได้รับทุนในแต่ละด้านขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ถึงการสอนการใช้งาน (Training) ให้ผู้ใช้งานคุ้นเคยและเข้าใจวิธี/คอนเซ็ปต์การทำงานของแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หรือเริ่มใช้ระบบจริง โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และบริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อันประกอบด้วย ที่ปรึกษาวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น 1) รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร 2) ผศ.ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ 3) รศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา 4) อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย 5) ผศ.ดร. นคร เสรีรักษ์ 6) รศ.ดร.ระวี หาญเผชิญ ที่ปรึกษาวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1) ผศ.ดร. สันติชัย วิชา 2) ดร.ดำรงพล คำแหงวงศ์ 3) ดร.สมรรถชัย แย้มสะอาด 4) อาจารย์นุรัตน์ ปวนคำมา ที่ปรึกษาวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1) ผศ.ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ และที่ปรึกษาวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1) รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ 2) รศ.ดร.ประภาศ เมืองจันทร์บุรี 3) ผศ.ดร.วัชรวลี ตั้งคุปตานนท์ 4) ผศ.ดร.ชนิษฎา ชูสุข ที่ปรึกษาวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพา 1) ผศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล 2) ดร.ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง 3) รศ.ดร.พรชัย จูลเมตต์ 4) ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี 5) ดร. ศศิรมย์ พานทอง 6) นางสาวฐิติพร จิตตวัฒนะ ทั้งนี้ในแต่ละด้านนั้นแต่ละเทศบาลจะได้เห็นหน้าตาของแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง City Digital Data Platform (CDDP) ของเทศบาลนั้นๆ ซึ่งระบบนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีข้อมูลเมืองที่จะช่วยสนับสนุนการบริหารและการทำงานของเทศบาลในแต่ละด้านได้
ด้านบริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด แนะนำการเข้าใช้งานระบบแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง City Digital Data Platform (CDDP) ในส่วนต่างๆ ทั้งการเข้าสู่ระบบ ทางเทศบาลจะได้เห็นหน้าตา และ Dashboard ของแฟลตฟอร์มในแต่ละด้าน และให้ทางเทศบาลสามารถเข้าดูแฟลตฟอร์มได้ด้วยตัวเองผ่านลิงค์ที่ Bedrock ส่งให้เทศบาล สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เป็นการเสริมส่วนสาธารณูปการ และช่วยวางแผนสาธารณูปโภค มีเทศบาลเข้าร่วมอบรมกว่า 15 เทศบาล แต่ละเทศบาลจะสามารถเห็นในส่วนตำแหน่งครัวเรือน ถนน เสาไฟส่องสว่างและหัวดับเพลิง แนะนำข้อมูลและสัญลักษณ์ในแต่ละเลเยอร์
สำหรับด้านภัยพิบัติอัจฉริยะ มีเทศบาลเข้าร่วมอบรมกว่า 5 เทศบาล ทางเทศบาลที่จัดทำแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง ด้านภัยพิบัติอัจฉริยะ ส่วนหลักๆสามารถเห็นข้อมูลถนน เสาไฟฟ้าส่องสว่าง หัวดับเพลิง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมโดยจะแสดงระดับความสูงของน้ำล้นตลิ่ง และจะแสดงตำแหน่งครัวเรือนเสี่ยงภัย ทั้ง พื้นที่เฝ้าระวัง พื้นที่เตือนภัย พื้นที่อพยพ พื้นที่ปลอดภัย และแต่ละครัวเรือนจะสามารถแสดงจำนวนสมาชิกที่มีผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยติดเตียง ถนน เสาไฟฟ้าส่องสว่าง หัวดับเพลิง ด้าน Bedrock อยากจะขอลงพื้นที่เทศบาลตำบลแม่จัน เพื่อดูพื้นที่เป็นแนวทางในการพัฒนาแฟลตฟอร์มให้สอดคล้องกับพื้นที่มากที่สุด
ด้านสุขภาพอัจฉริยะ มีเทศบาลเข้าร่วมอบรมกว่า 20 เทศบาล ซึ่งในส่วนนี้ทางเทศบาลจะสามารถเห็นหน้าตาของแฟลตฟอร์ม เพื่อที่จะทราบว่าจะสามารถนำไปวางแผนการพัฒนา และใช้ประโยชน์ได้อย่างไร แฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง ด้านสุขภาพอัจฉริยะนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ เบี้ยยังชีพ (สวัสดิการสังคม) งานส่งเสริมสุขภาพ แบ่งเป็น ผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงและอาสาสมัครในชุมชน
ในส่วนของแฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ซึ่งเทศบาลที่จัดทำแฟลตฟอร์มด้านนี้จะสามารถเห็นหน้าตาองแฟลตฟอร์มได้ โดยหลักๆจะเป็น การจัดการขยะ แบ่งเป็นการชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงตำแหน่งบ่อฝังกลบขยะ ซึ่งจะมีช่วยในการวางแผนจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่อทางเทศบาลเป็นอย่างมาก และปิดท้ายการอบรมด้วยการหารือ ตอบข้อซักทางจากทางเทศบาล และภาคีเครือข่ายทางด้านวิชาการจากมหาลัยต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดต่อไป