การประชุมปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 17
หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 17 วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30 – 16.00 น. ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ZOOM MEETING
วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2565 ได้มีการจัดประชุมปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในรูปแบบการประชุทออนไลน์กับผู้เข้าร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ซึ่งได้อบรมผ่านมาแล้ว 16 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 17 ที่ได้มีการเชิญผู้นำท้องถิ่นเข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบันและเป็นการถอดบทเรียนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเกิดองค์ความรู้ไปปรับใช้และนำมาปฏิบัติ ทางด้าน ดร.เสกสรร นิยมเพ็ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับเชิญเพื่อแสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำเสนอจังหวัดเพชรณ์บูรณ์ภายใต้แนวคิด “เพชรบูรณ์ เมืองอยู่สบาย” โดยเป็นเมืองที่มีความสุข สะดวก สบาย เพราะเป็นเมืองที่มีขนาดกลางและมีสาธารณูปโภคครบถ้วน และได้เน้นย้ำไปที่ความทันสมัยจากการมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การมีพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมือง และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งในประเด็นสุดท้ายเป็นประเด็นด้านวัฒนธรรมที่ได้รับการเน้นย้ำมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากหอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สาเหตุที่ก่อตั้งให้เป็น “หอโบราณคดี” แทนการใช้ “พิพิธภัณฑ์” เนื่องจากการใช้พิพิธภัณฑ์จะต้องขึ้นตรงกับกรมศิลปากร ดังนั้นหอโบราณคดีจึงไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงานอื่นนอกจากท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าเมืองเพชรบูรณ์นั้นมีศักยภาพที่จะบริหารได้ไม่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีทันสมัยไปใช้จัดการเมือง แต่ยังมีการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกันนางกัญนิกา อินทรกูล ได้แสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรี ตําบลเนินปอ จังหวัดพิจิตร โดยกล่าวว่าเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นโดยนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันที่นำมาใช้งานให้สามารถที่จะตอบโจทย์ได้จากข้อมูลร้องเรียน เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ตําบลเนินปอ จังหวัดพิจิตรยังได้มีการใช้ทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการใช้เครือข่ายในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากมีชาติพันติพันธุ์หลากหลาย อย่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำจึงนำมาศักยภาพจากประชาชนกลุ่มดังกล่าวมาช่วยในการพัฒนาคนและเศรษฐกิจ และยังเป็นการลดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยประสานไปกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดสร้างทีมฟุตบอล ในการทำให้เกิดการเพิ่มศักยภาพโดยใช้ผู้ปกครองและการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ ในขณะเดียวกันด้านสุขภาพประชาชนจะดูแลตั้งแต่อาหารการกินเพื่อไม่ให้ส่งผลกกระทบ โดยเป็นการดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ ในเวลาต่อมานายสุภาพ ศักดิ์สัจจา ได้มาแสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีตําบลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ว่าในพื้นที่นั้นได้รับ รางวัลบริหารจัดการน้ำดีเด่นจากการบริหารความเสี่ยงภัยแล้ง โดยมีการขอบ่อปะปาที่ไม่ได้ใช้งานมาใช้ในการสำรองน้ำ ซึ่งแนวคิดนี้มาจากการที่ในเขตเมืองใหญ่ระดับเทศบาทนครเป็นกลุ่มประชากรผู้มีรายได้สูงทำให้เสียค่าน้ำน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ แต่เทศบาลตำบลมีขนาดที่เล็กเมื่อเทียบกับรายได้จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงได้มีการจัดทำปะปาทางเลือก โดยได้รับการอนุเคราะห์จากกรมทรัพยากรน้ำ ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งปั้มไฟฟ้าสูบน้ำไปกักเก็บไว้ในสระปะปา เพราะเป็นแหล่งน้ำเหลือแหล่งเดียวที่สามารถเก็บสำรองน้ำได้ และปั้มน้ำนี้นอกจากจะสามารถสูบน้ำมาเก็บแล้ว ยังสามารถผลักน้ำออกในช่วงอุทกภัยได้เช่นกัน สำหรับการกำจัดน้ำเสียมีการจัดการน้ำเป็นอย่างดี โดยการพัฒนาคลองขุนลาดให้มีพนังกั้นน้ำและมีการทำบ่อบำบัดเล็กก่อนลงคลอง น้ำที่คลองก็จึงใสมากขึ้น พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ประชาชนเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีการดูแลเรื่องคุณธรรมจิตใจ ความเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ยังมีการปลูกฝังอยู่ โดยเป็นการพัฒนาควบคู่กันไปทั้งด้านความสะดวกสบายและด้านจิตใจ
สำหรับการบรรยายพิเศษหัวข้อ “บริบทเศรษฐกิจไทยและแนวทางการระดมทุนพัฒนาเมือง” โดย ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ได้การพัฒนาเมืองและการพัฒนาท้องถิ่นต้องเข้าในเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจมองได้สองฝั่งคือคือผู้บริโภคและการใช้จ่าย โดยท้องถิ่นที่สามารถพัฒนาแล้วจะต้องสามารถให้บริการและสินค้ากับตลาดโลกได้ และต้องไม่พัฒนาเพื่อตลาดภายในประเทศได้เพียงอย่างเดียว ดังเช่น จังหวัดระยอง ชลบุรี กรุงเทพและปริมณฑล ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอุตสาหกรรมการส่งออก ประเด็นสำคัญต่อมาคือ การพัฒนาเมืองต้องอาศัยในเรื่องการลงทุน โดยจะต้องมาจากภาคเอกชนและภาครัฐ อย่างเช่นรถไฟความเร็วสูงที่เป็นการลงทุนจากรัฐบาลไทยและเอกชนจากประเทศจีนในรูปแบบ PPP หรือ Public–private partnership อย่างไรก็ตามประเทศไทยในปัจจุบันแม้ว่าจะมีกำลังแรงงานใช้จำนวนมากแต่เศรษฐกิจเติบโตเพียง 6% จึงเกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำตามมา ดังนั้นการพัฒนาในอนาคตจึงควรเชื่อมโยงเข้าสู่ภาคบริการ โดยให้ภาคเกษตรไปกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากขึ้นในอนาคต และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปที่ต้องจับตา คือ เศรษฐกิจโลกปีหน้า (2566) มีแนวโน้มชะลอตัวลง และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐในอนาคตควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ยังได้ยกตัวอย่าง Hometown Tax ที่เป็นการชำระภาษีบ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนในการพัฒนาบ้านเมือง โดย Hometown Tax นี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อลดความซับซ้อนของภาษีและสามารถนำมาสู่การกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนั้นท้องถิ่นของประเทศไทยจึงควรมีการขับเคลื่อนท้องถิ่นโดยใช้ข้อมูล
นอกจากนี้ ดร.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้รวมก่อตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จังหวัดขอนแก่น ได้มีการบรรยายหัวข้อ “ทุนใหม่ของการพัฒนาท้องถิ่น” ได้กล่าวว่า ปัญหาของประเทศคือ ปัญหารัฐบาล ปัญหาทางการเมือง ระบบราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมการบริหารจัดการท้องถิ่น แต่ปัญหาที่สำคัญมากคือปัญหาความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นเรื่องของการพัฒนาเมืองจึงไม่ใช่แค่เรื่องของตึก คน ความทันสมัย แต่เมืองเป็นเหมือนทุกอย่าง ตึกเป็นเหมือนโครงสร้างเหมือนร่างกาย ส่วนคนนั้นเป็นเรื่องของจิตใจ การพัฒนาเมืองจึงต้องดูทั้งกายภาพและจิตใจ คนกับเมืองต้องอยู่ด้วยกันได้อย่างสมดุล ดร.สุรเดช ยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาขอนแก่นว่าประเด็นความเหลื่อมล้ำด้านงบประมาณทำให้ต้องหาวิธีพัฒนาจังหวัดขอนแก่นเอง โดยต้องมีการตั้งเป้าหมายแผนพัฒนา 20 ปี จากหลักการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) และมีเป้าหมายคือความโปร่งใส ให้คนจนหายไป และการมีความเท่าเทียมของโอกาส เพราะขอนแก่นไม่ได้ทำเพียงแค่รถไฟฟ้า แต่ยังมีการพัฒนาที่ดินของรัฐเพื่อนำไปสนับสนุนกิจการรถไฟฟ้าเพื่อให้ราคาค่าตั๋วถูกลง และนำมาสู่กำไร โดยผลลัพธ์คือจะทำให้เกิดเงินทุนขึ้นมา และนำมาสู่การนำรายได้ไปพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งขอนแก่นทำสำเร็จได้เพราะมีการสานเสวนา (Dialogue) มีวิสัยทัศน์ (Share Vision) และความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการทำงาน ในขณะเดียวกันต้องมีแนวคิด โครงการ และแหล่งเงินทุน ที่ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐ ช่วยกันสร้างโครงการ อย่างเช่น การลงทุนทำรถไฟฟ้ารางเบาจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม 17% และเศรษฐกิจโต 1.5 เท่า จนถึงการมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีความยั่งยืน ดังนั้นท้องถิ่นวันนี้ต้องทันสมัย
สุดท้ายนี้ทางด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ จากหน่วยบริหารทุนและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ยังได้กล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ว่ากระบวนการปลูกฝังกรอบคิด (Mindset) ในวันนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสหลาย ๆ ด้านในการพัฒนาพื้นที่และไม่มองว่าการพัฒนาเป็นเรื่องไกลตัว เพราะการพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่บ่งชี้การคลังท้องถิ่นอย่างแท้จริง