ครั้งที่ 16 กับการทบทวนเป้าประสงค์ของหลักสูตร พมส. รุ่น 1
ครั้งที่ 16 กับการทบทวนเป้าประสงค์ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่น 1
วันที่ 10 ธันวาคม 2565 หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วม และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นำพาผู้เข้าร่วมหลักสูตพมส. เข้ารับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา ในระหว่างวันที่ 8 – 9 ธันวาคม 2565
โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15 หน่วย (บพท.) ได้ให้เกียรติกล่าวสรุปการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา ว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปกับงานไหมที่จังหวัดขอนแก่นได้ และในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมหลักสูตร พมส.ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นและสะท้อนให้เห็นว่าการเข้ามางานไหมในครั้งนี้ เป็นการสื่อว่าผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากพันธกิจของท้องถิ่นที่ชัดเจนจากกรณีศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ที่ปกติแล้วการเข้าถึงน้ำประปาจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยสูง แต่หากอาศัยอยู่ในนครสวรรค์จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงหน่วยละ 5 บาท ในขณะที่ นายขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลำพญา ได้ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้กับชุมชน อย่างแพลตฟอร์ม Airbnb ที่นำมาใช้กับกิจการที่พักมาส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนผ่านรูปแบบโฮมสเตย์ โดยมีลูกค้าเป็นต่างชาติและคนไทย และเห็นว่านี่เป็นโอกาสอันดีที่จะใช้เป็น Soft power จากกิจการที่ใกล้ ๆ อย่างการสักยันต์ ส่วนนายฤทธิรงค์ เสนฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลห้วยเม็ก ได้กล่าวต่อว่าการมาเข้าร่วมครั้งนี้ก็เริ่มเห็นประโยชน์จากถนนมิตรภาพกับถนนสาย R9 ว่าเป็นโอกาสที่ดีคือการที่สามารถเดินทางได้ใกล้มากขึ้น และเห็นว่าตำบลห้วยเม็ก นั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางได้จากที่ผ่านมาที่แค่การพัฒนาถนน แต่ตอนนี้จะนำไปพัฒนาเทศบาลในส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า BCG เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญ รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานวัฒนธรรม และควรความสำคัญกับ Public Private People Investment ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินใหม่ในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีบรรยายพิเศษในหัวข้อ “มุมมองภาคเอกชน: BCG กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในภาคอีสาน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ที่ปรึกษา บริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด โดยมีเนื้อหาสำคัญถึงประเทศไทยเป็นประเทศแห่งโอกาสในการทำเกษตรกรรมที่เป็นจุดเด่นคือสามารถปลูกพืชได้ทุกฤดู เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพ และเห็นว่าสามารถลงทุนได้จากความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ๆ ซึ่งประเทศไทยมี Bio Mass ทำให้การแข่งขันเรื่องต้นทุนประเทศไทยนั้นสามารถช่วยมากได้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีโอกาสน้อยกว่าไทยและประเทศไทยสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ได้ ในประเด็น BCG นั้น Circular จึงเป็นโจทย์ต่อมาที่ต้องคิดว่าจะทำอะไรต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดการทิ้งอย่างสูญเปล่า ต่อมมาคือ Green ที่กระบวนการต่อมานี้จะต้องชัดเจนทั้ง Bio และ Circular จึงจะเกิดกระบวนการนี้ขึ้น และส่วนการขับเคลื่อนก็เป็นทั้งของราชการและนักลงทุน แต่สำหรับนักลงทุนนั้นเห็นว่าประเทศไทยมีที่เยอะ Bio Mass และเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดแล้วในปัจจุบันในอนาคตไม่ให้แล้งเป็นทราย อย่างไรตามเป็นที่น่าสังเกตว่าถั่วเหลืองเป็นความมั่นคงทางอาหารที่ประเทศไทยสอบตก และแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปลูกข้าวเป็นหลัก แต่ก็มีจุดอ่อนการปลูกข้าวที่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่น
หลังสิ้นสุดการบรรยายแล้วก็ได้มีกิจกรรมการนำเสนอสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ (Pitching) โดยในการนำเสนอของ OR Aqua Live Feed Technology โดย รศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม โดยเป็นการพัฒนาวัตถุดิบที่มาจากการนำน้ำล้างท่อน้ำนมมาผลิตเป็นแพลงก์ตอนเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง จัดอยู่ในหมวดการผลิตสารมูลค่าสูง (Value added) และทำได้ทุกประเทศที่มีแสงสว่างมากโดยเฉพาะประเทศ ต่อมาคือ PAC regenerating energy ระบบพลังงานที่ทำให้แอร์ประหยัดพลังงานและนำความร้อนจากแอร์มาทำน้ำร้อน โดยเหมาะกับอาคารที่ต้องใช้น้ำร้อน และเน้นการใช้นวัตกรรมของคนไทย และในส่วนต่อมาคือการนำเสนอเตียงพลิกตะแคงพร้อม software และ application smart bed ตอบโจทย์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ โดยปัจจุบันพบว่าแผลกดทับส่งผลต่อการดำรงชีวิต เพราะผิวหนังบางและผิวหนังแห้งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของแผลกดทับ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยจากสถิติการเกิดแผลกดทับและต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นมีจำนวนมากและค่าใช้จ่ายต่อครั้งก็ 60,000 – 70,000 บาท และหากนำนวัตกรรมนี้ไปใช้จะช่วยลดจำนวนคนดูแลลงได้จากปัญหาขาดแคลนผู้ดูแลและค่าใช้จ่ายการดูแลผู้ป่วยที่สูง ซึ่งก็สอดคล้องกับความพยายามของเมืองขอนแก่นในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในเวลาต่อมาผู้เข้าร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ได้เข้าฟังการบรรยายของ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ที่ได้อธิบายถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน จากแนวคิดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่มุ่งไปที่การสร้างคนดีและให้โอกาสคน และเน้นการพัฒนาที่คน เพราะการพัฒนาคนเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุด ดังเช่นตัวอย่างจากปี 1970 เป็นปีที่ใช้ทรัพยากรมากพอกับสัดส่วนที่ทรัพยากรฟื้นตัว และส่งผลปัญหาตามมาในปีหลังผ่านมาตลอด 50 ปี โดยยืมจากคนรุ่นหลัง ดังนั้นการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างการพัฒนาชาวเขาให้ลดการใช้ทรัพยากรโดยเริ่มพัฒนาที่คน ๆ หนึ่งและส่งผ่านไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายถึง “ขอนแก่น 2030” ได้เน้นย้ำถึงสำนึกรักท้องถิ่นที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งโอกาส โดยขอนแก่นเป็นเมืองอัจฉริยะที่ทางรัฐบาลเลือกให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการแพทย์ และเป็นเมืองท่าเรือบก เหล่านี้เป็นจิกซอว์ตัวสำคัญที่จะสามารถเพิ่มมูลค่า การมีอยู่ของ Khon Kaen Innovation Center จึงเป็นการโอกาสที่สำคัญให้เมืองขอนแก่นเติบโต ดังนั้น BCG จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ทาง ดร. ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ได้ขึ้นบรรยายและได้ให้ความเห็นว่าสิ่งที่สภาอุตสาหกรรมให้ความสำคัญคือ 12 new S-curve และมองว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะเป็นอุปสรรคการค้าขาย (Trade barrier) ตัวใหม่ที่สำคัญ และทางสภาอุตสาหกรรมยังมองว่าอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพสามารถเป็นหลายอย่างได้ เช่น ยา เครื่องสำอาง จากผลิตพันธุ์ทั้งหลายทางการเกษตร แต่ความท้าทายคือจะต้องทำอย่างไรถึงจะยกระดับให้ต่อเนื่องและเกิดรายได้และจะต้องไม่มองข้าม ESG (Environment, Social, และ Governance)เพราะหากหลีกเลี่ยงจะเกิดปัญหาการส่งออกในอนาคต สภาอุตสาหกรรมจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงกลุ่มเปราะบางจะต้องได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน ในขณะเดียวกันนายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวว่า การพัฒนานี้ต้องใช้เวลาเตรียมงาน 2 – 3 ปี และพัฒนา 10 ปี และสิ่งที่จะเปลี่ยนจะต้องมีการจัดการใหม่ให้เน้นการลงทุนใน BCG และดูแลเรื่อง Value Change โดย BCG จะต้องก้าวให้ทันโลกเพราะอยู่ในอุตสาหกรรม เกษตรและบริการทุกรูปแบบ ต้องไม่มองแค่ว่ามีกำไร แต่จะต้องสามารถขยายได้ นอกจากนี้ Digital Connect จะต้องกลายเป็นประเด็นสำคัญ เพราะจุดแข็งขอนแก่นที่สามารถผลิตทรัพยากรได้ดังเช่นคำว่า “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ ขอนแก่น 2030” ทั้งนี้ก่อนจบการบรรยาย นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ได้เน้นย้ำวิสัยทัศน์ของการพัฒนาเมืองต่อผู้ที่จะเข้ามาในขอนแก่นว่า “เขากล้ามาช่วยเมือง เราต้องไม่ลืมเขา ทั้งหมดเราต้องร่วมมือกัน”
สำหรับช่วงบ่ายนี้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ “BCG จะช่วยพัฒนาเมืองให้ยั่งยืนได้อย่างไร” โดยพบว่า มาตรการที่สำคัญคือการพัฒนาคน ทำอย่างไรให้เข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อมาคือการตลาด ทำแล้วขายที่ไหน บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับ BCG มีอยู่แล้วจะทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึงตลาด จะต้องมีการทดสอบถึงศักยภาพของสินค้า จะต้องทำมาตรฐานและจะต้องมีการรับรอง นอกจากการเอาฐานความรู้มาใช้ จะต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้วย ในเวลาต่อมาได้มีการนำเสนอผลงาน UNIFAHS สารเสริมชีวภาพจากแบคเทอริโอเฟจ โดยเป็นตัวกินแบคทีเลียตามธรรมชาติเพื่อกำจัดแบคทีเลียตามธรรมชาติ เพราะในกระบวนการผลิตอาหารแทนการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะ โดยยเป็นการป้องการปนเปื้อนโดยใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อตอบโจทย์โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมที่พบเชื้อในสถานประกอบการ และต่อมาคือหัวข้อ ผลิตภัณฑ์โปรตีนแปรรูปจากรังไหมไทย ได้แก่ กลุ่มเครื่องสำอาง (แป้งฝุ่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และสบู่ เป็นต้น) เพื่อเป็นการนำโปรตีนจากไหมเพื่อลด zero waste ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ กระดูกเทียมแบบอนุภาคแอคทีฟ โดย รศ ดร. โศรดา กนกพานนท์ ได้อธิบายว่าไหมไทยนั้นดีที่สุดเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ซึ่งได้นำมาทำเป็นอนุภาคกระดูกเทียมจากไหมและมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ยังมี Traffy Fondue ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการแก้ไขปัญหาเมือง และเป็นการลดขั้นตอนของสายบังคับบัญชา เป็นการหยิบปัญหาที่มีมาใช้แก้ไขให้ทันท่วงที โดยพบว่าหากเจอปัญหาก็แจ้งมาผ่านแพลตฟอร์มได้ทันทีเพียงไม่กี่ขั้นตอนคือ ถ่ายภาพ ลงรายละเอียดปัญหา ประเภท และกดส่ง ปัจจุบันมี 8,544 หน่วยงานที่นำมาใช้ และเป็นการบ่งชี้ว่าหน่วยงานพร้อมแล้วที่จะเป็น Smart City สำหรับขอนแก่นจะเริ่มต้นใช้วันที่ 15 ธ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้ และในส่วนสุดท้ายแพลตฟอร์มทางด้าน Biotechnology และ Synthetic Biology ที่เชี่ยวชาญด้าน Bioengineering, Computational modeling & simulation และ Synthetic biotechnology จาก BIOM เพื่อมาตอบรับกับกระแส BCG ที่ใช้เทคโนโลยีทำ Genetic Engineer เพื่อผลิตสารคุณภาพสูง โดยเน้นไปที่ความยั่งยืนและไม่ได้กินเพื่ออยู่เท่านั้น แต่เน้นทางด้านคุณภาพ เพื่อให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การปลูกที่พบว่าเกษตรกรเจอปัญหาการปนเปื้อนสารเคมี ดังแนวคิด Sustainable farm to safe food ที่เน้นความยั่งยืนตั้งแต่การผลิตสู่การบริโภค