พมส.รุ่น1 เดินหน้าปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย นักพัฒนาเมืองระดับสูง เชื่อมั่นท้องถิ่นพลังแห่งการขับเคลื่อนประเทศไทย
หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1เดินหน้าปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย นักพัฒนาเมืองระดับสูง เชื่อมั่นท้องถิ่นพลังแห่งการขับเคลื่อนประเทศไทย
หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดการอบรม ในหัวข้อปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย ครั้งที่ 13 ให้กับผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้ารับการอบรมหลักสุตร พมส. ในวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2565 เวลา 08.45 – 16.00 น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ZOOM MEETING
ช่วงแรกของกิจกรรมได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย Global Chief Innovation Officer จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายพิเศษหัวข้อ : “นวัตกรรมการศึกษาที่ทุกคนเข้าถึง ตัวอย่างจากสหรัฐอเมริกา” โดยมีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับQuality Education For All การศึกษาที่มีคุณภาพสูงสำหรับทุกคนและทุกช่วงวัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chula education for society การสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมและการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัย ให้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนอย่างมีคุณภาพ โดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย เล่าว่าสิ่งที่สำคัญ คือ “ใครทำสำคัญกว่าทำอะไร” ท้ายที่สุดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้จากการมีผู้นำ ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำเมือง ผู้นำการศึกษา แม้แต่ผู้นำในส่วนต่างๆของเมือง ต้องกล้าคิดต่าง และมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง พร้อมทิ้งท้ายว่า “การศึกษาเป็นภารกิจของทุกคน อนึ่งเมืองแห่งการเรียนรู้นั้นมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาล เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม และพิพิธภัณฑ์ คือ กลไกในการพัฒนาความรู้ พัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกัน
ต่อมาเป็นการเสวนาหัวข้อ “กฎหมายกับการจัดการความเสี่ยงดิจิทัล” โดย นายกิตติบดี ใยพูล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมด้วย อาจารย์แทนรัฐ คุณเงิน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ และ อาจารย์ณรงค์วิชย์ มหาศิริกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรม จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันมีสาระสังเขปเกี่ยวกับสังคมดิจิทัล พันธกิจร่วมที่พัฒนาท้องถิ่น เศรษฐกิจ สังคมไปสู่ยุคดิจิทัล การเตรียมความพร้อมของพลเมืองไปสู่ดิจิทัล โดยกฎหมายจะเข้ามาทำหน้าที่ คือเป็นเครื่องมือในการจัดการสังคมให้เกิดความเป็นธรรม พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งคำถาม สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เข้ารับการอบรม ว่า“จะพัฒนากฎหมายอย่างไรเพื่อจัดการสังคมดิจิทัลให้เกิดความเป็นธรรม” และ Pain point ของกฎหมาย คือการปรับตัวจากสภาพแวดล้อมดั้งเดิมกับหลักคิดทางกฎหมายต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ในยุคปัจจุบัน Digital Economy Law อาทิ กฎหมายความผิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ กฎหมาย PDPA “สุดท้ายเป้าหมายเมืองมิใช่การมีระบบ 5G ให้แก่ประชาชนใช้อย่างทั่วถึงแต่เป้าหมายของนักพัฒนาเมือง คือการสร้างสมดุลแห่งเศรษฐกิจร่วมสมัยและขับเคลื่อนสังคม ให้ร่วมสมัย”
กิจกรรมในช่วงบ่าย เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อบรรยายพิเศษหัวข้อ 1. กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลขององค์กร ประกอบด้วย- พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540- พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 2. การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมาย 3. ธรรมาภิบาลข้อมูลและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในท้องถิ่น โดย ผศ.ดร. นคร เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการ Privacy Thailand อันมีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้
ผศ.ดร. นคร เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการ Privacy Thailand กล่าวว่า “ความเป็นส่วนตัวเป็นของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าชาติใด”
ความ เป็นส่วนตัว ประกอบด้วย ความเป็นส่วนตัวทางร่างกาย ความเป็นส่วนตัวด้านเคหสถาน ความเป็นส่วนตัวด้านการติดต่อสื่อสาร และข้อมูลส่วนตัว ซึ่งความเป็นส่วนตัว สามารถคุ้มครองได้ 2 มิติ 1. ใช้กฎหมายในการคุ้มครอง 2. ใช้มาตรการทางสังคม
ต่อมาได้บรรยายถึง Privacy Standard ว่าต้องเก็บและใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และแจ้งให้ทราบหรือขอคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิยินยอม ปฏิเสธ หรือตรวจสอบได้ และที่สำคัญการเปิดเผยต้องกระทบความเป็นส่วนตัวน้อยที่สุด และได้บรรยายถึง พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ เนี่ยสร้างความเชื่อมั่น (Trust) ยกระดับธรรมาภิบาลข้อมูล (Better data governance) และยกระดับสู่มาตรฐานสากล (Connecting with global standards) ปิดท้ายด้วย การเตรียมความพร้อมรับการบังคับใช้กฎหมาย
และปิดท้ายด้วยการบรรยายพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมดิจิทัลของไอเน็ต สำหรับ อปท.ดิจิทัล” โดย ดร.อภิศักดิ์ พัฒนจักร ที่ปรึกษา บ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เกริ่นประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) Digital Transformation Use Case เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนว่า บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยี มาพัฒนาทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศไทยและสังคมไทยดีขึ้น โดยได้มี Innovation Hub ณ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้สนับสนุนนักศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ให้สามารถทำงานได้ในยุค 4.0 และได้ยกตัวอย่าง digital transformation use cases ความร่วมมือ หมอพร้อม Used case ทันตแพทย์สภา และได้กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมจะจึงต้องนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เนื่องจากสามารถลดปริมาณกระดาษ ลดแบบฟอร์ม ลดกระบวนการทำงานและตรวจสอบสถานะได้ง่าย ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในหน่วยงานและระหว่าง องค์กรได้ง่ายถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น
และในช่วงท้ายได้ ยังบรรยายถึงระบบบริหารจัดการคำร้อง complaint management system การทำงานของระบบแจ้งคำร้องผ่านวันแชท หรือไลน์บอท ไม่ว่าจะเป็น แจ้งเรื่องร้องทุกข์ และติดตามคำร้องทุกข์ สิ่งที่ได้จากการใช้งานระบบ คือ คำร้องทุกข์ไม่สูญหายหรือตกหล่น ลดการใช้กระดาษ เจ้าหน้าที่ดำเนินการรวดเร็ว ค้นหาและติดตามคำร้องทุกข์ได้สะดวกขึ้น พร้อมทั้งดำเนินงานได้ตรงจุด เจ้าหน้าที่สรุปและรายงานผลได้ สะดวกยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้าไปรับงานในที่ทำงาน หรือลงพื้นที่ มีการแจ้งเตือนประชาชนร้องทุกข์ได้ทุกที่ และที่สำคัญที่สุดประชาชนมีความพึงพอใจ