พมส. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ประเด็น “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย”

หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) (City Development Executive Program : CDE) จัดกิจกรรมศึกษาดูงานโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ประเด็น “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเปิดตัว “หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.)” รุ่นที่ 1 และด้วยในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน –  1 ธันวาคม 2565 หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) (City Development Executive Program : CDE) ได้กำหนดจัดกิจกรรมศึกษาดูงานโครงการ “การยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ประเด็น “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย” “Thailand Smart City Consortium Meeting Agenda”” ขึ้นในงาน “Thailand Smart City Expo 2022” ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศกว่า  100  คน ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เพื่อนำองค์ความรู้จากฐานงานวิจัยและนวัตกรรมไปขับเคลื่อนเมืองตามบริบทของพื้นที่ และรับชมการแสดงผลงานที่เกี่ยวข้องกับเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก บพท. ยิ่งไปกว่านั้น ในงาน “Thailand Smart City Expo 2022” นี้ยังได้มีการจัดแสดงผลงานการขับเคลื่อน หลักสูตร พมส. ที่ได้มีแสดงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

สำหรับ งาน “Thailand Smart City Expo 2022” นี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ETDA) และธนาคารโลก (World bank) ซึ่งล้วนเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนระดับนโยบายเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย รวมถึงภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อสร้างเกิดความร่วมมือผลักดันการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่จากนโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy in Action) ตามหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) 

 โดยในพิธีเปิดในวันที่ 31 พฤศจิกายน 2565 นั้น ได้รับเกียรติจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานพิธีเปิดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” กล่าว อันมีใจความโดยสังเขป ดังนี้ “รัฐบาลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หลายภาคส่วนมีความสนใจและตื่นตัวในการร่วมกันพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง”

ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับเกียรติจากพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วทุกมุมโลก มาให้ความรู้ และจุดประกายแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมให้สอดรับกับอัตลักษณ์ของแต่ละเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การยกตัวอย่างเมืองต้นแบบอัจฉริยะจากประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีใต้  การบรรยายพิเศษ “นโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy in Action) การเชื่อมโยงงานวิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาเชิงพื้นที่” การเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายจากนโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy in Action) ของการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่และฉลาด”  การเสวนา การขับเคลื่อนงานและยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการปฏิบัติการ “นักพัฒนาเมืองระดับสูง หรือ พมส.” และการเสวนาหัวข้อ “พลังของข้อมูล โอกาส และข้อท้าทาย ต่อการขับเคลื่อนเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด”

    และสำหรับการเสวนา การขับเคลื่อนงานและยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการปฏิบัติการ “นักพัฒนาเมืองระดับสูง หรือ พมส.” นั้น ผู้นำท้องถิ่นหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 นำโดย นางเพลินพิศ ศรีภพ นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี นายขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลำพญา จังหวัดนครปฐม และนายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ยังได้ร่วมเสวนาบนเวทีดังกล่าวด้วย 

      โดย นายขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย นายกเทศมนตรีตำบลลําพญา จังหวัดนครปฐม ได้กล่าวว่า “เทศบาลตำบลลำพญาเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ประชาชนมีวิถีชีวิตที่งดงาม  จึงอยากสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน ผ่านการร่วมคิด ร่วมวางแผน เพื่อสร้างชีวิตที่ปลอดภัยให้กับคนรุ่นถัดไป” พร้อมทั้งกล่าวถึงความรู้สึกว่า “ภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ถือเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเทศบาลตำบลลำพญาเป็นเมืองที่น่าอยู่”

      ทางด้าน นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม กล่าวความรู้สึก

“ขอขอบคุณหลักสูตร พมส รุ่นที่ 1 ที่ได้เปิดโลกทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง หลักสูตร พมส.เดินมาในทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องจากวิถีชนบทมีความเหลื่อมล้ำสูง  ปัญหาใหญ่ของการพัฒนา คือ เทศบาลยังขาดข้อมูล แต่ภายหลังเทศบาลเมืองมหาสารคามได้ร่วมมือกับ พมส. ขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพคนมหาสารคามให้เป็น Smart People   ประชาชนได้เลือกเรามาพัฒนาพื้นที่ เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด” นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม กล่าว

    ลำดับถัดไป นางเพลินพิศ ศรีภพ นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การขับเคลื่อนเมือง โดยได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ “เทศบาลเมืองตาคลีเป็นเมืองแห่งความสุขอย่างยั่งยืน ” การจะเป็น Smart City ได้ประชาชนในเมืองต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีเทคโนโลยีสนับสนุน อาศัยข้อมูลในการพัฒนา เทศบาลต้องดูแลประชาชนทุกด้าน พร้อมทั้งกล่าวว่า ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านการมอบทุนให้แก่มหาวิทยาลัย ผลักดัน Smart City เพื่อพัฒนาเมืองตาคลี”

     ในส่วนของ ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เนื่องจากประชาชนที่ใช้ Smart City ยังปิดกลั้นโอกาสต่อการได้รับประโยชน์ เราต้องผลักดันให้ประชาชนทุกช่วงวัยกล้าใช้เทคโนโลยี โดยได้กล่าวความรู้สึก “ขอบคุณหลักสูตร พมส.ที่ให้โอกาสแบ่งปันประสบการณ์จังหวัดปทุมธานี เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาเทศบาลนครรังสิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ”

       ปิดท้ายโดย นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ตัวแทนจากเครือข่ายบริษัทพัฒนาเมือง กล่าวว่า “หากวันนี้ทุกท่านมีใจมุ่งมั่นในการพัฒนา ทำเพื่อประชาชน และมีความสามัคคี ร่วมมือสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชน ผมคิดว่าไม่เกิด 10 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างแน่นอน”

     นอกจากนี้ ภายในงานยังจะมีสินค้า 7 กลุ่มที่ครอบคลุมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกมิติ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 150 บูธ โดยมีกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมงาน อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี                      เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive เป็นต้น

      สำหรับกิจกรรมในวันที่สอง คือ วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนมุมมอง พร้อมสะท้อนแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) ตามหมุดหมายที่ 8 “ไทยมีพื้นที่และเมืองหลักของภูมิภาคที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจทันสมัยและน่าอยู่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15 หน่วย บพท.

      อันมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ “การเปลี่ยนแปลงเมืองต้องเริ่มจากทุกคน เพราะเมืองจะขับเคลื่อนไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนเนื่องจาก “สมาทซิตี้” คือ เมืองที่ชาญฉลาดและน่าอยู่ คือ “สังคม” ที่ประกอบด้วยคน และโครงสร้างพื้นฐาน หรือ ฮาร์ทแวร์ และซอฟแวร์ และสิ่งที่สำคัญที่สุดของสมาทซิตี้ คือ “การเรียนรู้จากความผิดพลาด ดูสถานการณ์ปัจจุบัน และร่วมกันตัดสินใจเพื่อสร้างในอนาคต  เพราะ“เมือง” เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ ที่เกิดจากนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ และเมื่อโครงสร้างพื้นฐานที่โลกต้องมี คือ “สังคมที่มีความสามารถในการตัดสินใจ ที่สามารถตัดสินได้ถูกต้อง เป็นอย่างที่จะเป็น” ควรจะมีระบบสนับสนุน มีการร่วมกันตัดสินใจ เพื่อร่วมกันลงทุนในงบที่จำกัด และตัดสินใจเพื่อนำสู่การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อขับเคลื่อนเมืองให้น่าอยู่ คือ เป็นเมืองที่มีโอกาสสูง ความเสี่ยงต่ำ ภายใต้เป้าร่วม คือ เป็น “เมืองสำหรับทุกคน” โดยลักษณะเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว คือ การให้น้ำหนักว่าเมืองเราจะน่าอยู่ประมาณไหน และมีการขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล ก่อให้เกิดการลงทุนที่ไม่ใช่การลงทุนวิกฤต หรือไม่ เพราะนั่นคือ ต้อตอรากเหง้าของ pain point  และสำหรับการสร้างเมืองนั้น ความร่วมมือร่วมระหว่าง คน รัฐ เมือง ล้วนสำคัญต่อ Supply Chain โดยกรอบงานวิจัยด้านล่างนี้จะเป็นชี้เป้า city solution framework ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุน ให้เป็นเมืองแห่งการลงทุน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ คือ

1.การสร้างกลไกที่สำคัญ เพื่อให้เห็นทิศทางการไปข้างหน้าด้วยกัน เห็นขบวนการในพื้นที่ เห็นทิศทางเมืองว่าจะไปทางไหน เป็นเมืองที่สร้างโอกาสให้ทุกคน

2.เกิดชุดข้อมูลกลาง (เก็บข้อมูลไปเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการสาธารณะ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาเมืองของตนเองด้วย

3.ชวนคิดอะไรจะเป็น priority pain point

พร้อมเล่าถึง 3 กรอบ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นได้ต้องมีคุณลักษณะร่วม คือใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้ข้อมูลร่วม และทำงานร่วมกับเทศบาล หรือ อปท. เป็นสำคัญ  โดยกรอบที่ 1 คือ ชวนลงมือทำ Livable smart city กรอบที่ 2 City leaning ecological 

เข้าถึงแหล่งเรียนที่สนใจเรียนเพื่อที่จะเข้าใจเมือง และกรอบที่ 3 เมืองชายแดน ซึ่งเปิดมาเพื่อเชิญชวน แชะนำมาซึ่ง ระบบเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นระหว่างเมือง ชายแดน เพราะเมืองชายแดนมีลักษณะเฉพาะ และปิดท้ายด้วยการเชิญชวนทุกท่าน ทุกองค์กร มาร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ จัดการความรู้ การแก้โจทย์ ตอบโจทย์  กับ หลักสูตร พมส. รุ่น 2