วิเคราะห์ศักยภาพและแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเมืองในระบบเศรษฐกิจใหม่กับ หลักสูตร พมส. ปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย ครั้งที่ 5
ครั้งที่ 5 กับปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย ภายใต้หัวข้อหลัก “วิเคราะห์ศักยภาพและแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเมืองในระบบเศรษฐกิจใหม่”ส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ โดย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สอวช. และ สกสว.
วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง ภายใต้หัวข้อ “วิเคราะห์ศักยภาพและแสวงหาโอกาสในการพัฒนาเมืองในระบบเศรษฐกิจใหม่” ครั้งที่ 5 ขึ้น ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วม และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำหรับการอบรมเริ่มต้นด้วยการ เล่าวิสัยทัศน์การพัฒนา และบรรยายยาพิเศษพร้อมยกตัวอย่างกรณีตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น ให้กับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นและภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 98 คนที่เข้าร่วมทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์
โดยท่านแรกได้รับเกียรติจาก นายกเทศมนตรีตำบลนาดี จังหวัดสมุทรสาคร นายสุมิตร แผนทัด อันมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ “เทศบาลตำบลนาดี เป็นพื้นที่ที่เปลี่ยนจากพื้นที่เกษตรเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ดังนั้นในฐานะผู้นำ จึงมีจุดเน้นที่ว่าในพื้นที่ ขยะต้องไม่มี ไฟฟ้าต้องมี และพื้นที่ผมเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างดี ยกตัวอย่าง มีโรงงานใกล้คลอง ๆ ต้องสะอาด ปราศจากขยะ โดยผมมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และการควบคุม การปกครองคน โดยทุกอย่างจะต้องคำนึงถึงจำนวนประชากร และส่วนที่ดูแลโดยเทศบาลตำบลนาดีเป็นหลัก เพราะว่าในเขตพื้นที่ของผมมีทั้งประชากรอยู่ในถิ่นฐานเดิมอยู่แล้ว และเป็นประชากร อื่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เช่น คนต่างด้าว ดังนั้นการควบคุมดูแลบุคคลเหล่านี้ จึงต้องมีระบบที่จะสามารถควบคุมคนต่างด้าวได้ เพราะอย่างไรก็ตามประเทศเรายังต้องพึ่งศักยภาพและแรงงานของคนต่างด้าว ฉะนั้นการกำกับดูแลอย่างดีจึงเป็นสิ่งที่ควรพึงปฏิบัติ ยิ่งไปกว่านั้น ผมยังมีแผนพัฒนาคน พัฒนาระบบการศึกษา การดูแลคนแล้วเน้นให้เกิด แล้วเรียน แล้วกลับพื้นที่ของตนเอง โดยเรามีการวางแผนการดูแลเป็นระบบ นับตั้งแต่เรียนหนังสือ มีครอบครัว และเสียชีวิตเพราะผมมองว่าสิ่งเหล่านี้ คือปัจจัยความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ยกตัวอย่าง ศูนย์วิทยากรผู้สูงอายุระดับภาค ซึ่งอยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลศิริราช ได้มาก่อตั้งอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลนาดี โดยการมาอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลทำให้รู้ว่าพื้นที่ของเรานั้นอยู่ในจุดที่น่าสนใจ ดังนั้นหากมีข้อเรียกร้องอะไร ได้รับการจัดการเป็นอย่างดี พร้อมทิ้งท้ายว่า “อยากจะฝากถึงทุกคนด้วยว่าการทำงานอะไรก็แล้วแต่ หรือผมจะทำอะไรควรทำให้เต็มที่แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นมาเอง ยิ่งไปกว่านั้นต้องรู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาร่วมในการพัฒนาเมืองในทุกมิติด้วย”
ต่อเนื่องด้วย การถ่ายทอดวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม นายธรรมศักธ์ จิระวิทยพงศ์ ได้เล่าถึงการถอดบทเรียนการพัฒนาประชาชนในพื้นที่ว่า ตนเน้นการพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ นักเรียนในที่นี้คือนักเรียนทุกช่วงวัย โดยมองไปถึงเรื่องสุขภาพ คุณภาพชีวิตด้วย โดยโรงเรียนทุกโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สังกัดของเทศบาลผม จะเน้นปลูกฝังให้เด็กเป็นเยาวชนที่มีจิตใจอ่อนโยน โรงเรียนจะมีการสอน ที่นำเอาการฝึกอบรมของวัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่ของผมยังมีผลงานโรงเรียนต้นแบบ “ลำปลายมาศวิทยา” ที่มีผลงานโดดเด่น เรื่องจิตตะศึกษา ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่ของผมประสบความสำเร็จจากการที่พัฒนาเด็กให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง
ด้าน ร.ต.อ.ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิตจังหวัดปทุมธานี ได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเทศบาลนครรังสิตเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีกว่าเดิม โดยเน้นการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่แล้วและสิ่งที่ไม่ดีทำให้ดียิ่งขึ้น พร้อมนำเอาเรื่องของSmart city เข้าสู่พื้นที่ เพราะหัวใจสำคัญของเทศบาลนครรังสิต คือการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาพื้นที่ในทุกมิติ พร้อมกันนี้ยังได้ยกตัวอย่างเศรษฐกิจฐานรากของประชาชนในชุมชน ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เห็นถึงการดูแลร้านค้าในพื้นที่ ที่มีศูนย์พัฒนาและส่งเสริมสมาชิกในทุกช่วงชีวิตด้วย และสำหรับการบริหารอัจฉริยะของเทศบาลตำบลของตนนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับเรื่องร้องทุกข์ การขนส่งอัจฉริยะ การลดเรื่องเอกสาร การจราจรในพื้นที่ การพัฒนาฝึกฝนคนในชุมชนให้มีศักยภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีกว่าเดิม ทุกกระบวนการในการจัดการต่างๆจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ พร้อมปิดท้ายถึงสิ่งที่อยากจะฝากให้กับผู้นำในทุกพื้นที่ คือการบูรณาการร่วมกันสามารถเกิดผลลัพธ์ที่ดีและรวดเร็ว อย่างเรื่องของการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่ตนประสบภัย”
ปิดท้ายกิจกรรมภาคเช้า คือ การบรรยายพิเศษหัวข้อ “การขนส่งอัจฉริยะในเมืองที่ชาญฉลาดและน่าอยู่” โดย นายกมลพงศ์ สงวนตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “การสร้างการรับรู้บริการสาธารณะที่จังหวัดขอนแก่นทำ คือการมีวิธีการทำงานแบบ informal โดยทั้ง 24 องค์กร NGO ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน อปท. 8 องค์กรเศรษฐกิจเรา เริ่มจากการสานเสวนาพูดคุยแบบไม่เป็นทางการทั้งสิ้น โดยมีการนำเอาปัญหามาถกกัน หาทางออกร่วมกันและจัดหาแหล่งทุน ยกตัวอย่างบริษัทพัฒนาเมืองขอนแก่น เริ่มจากสะท้อนสิ่งที่อยากสร้างการรับรู้ และวางแผนร่วมกับผู้มีอำนาจในพื้นที่ คือ 5เทศบาล และจังหวัดขอนแก่น เพราะห็นความสำคัญของการที่ต้องทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจ คำว่า “จังหวัดขอนแก่น เป็นเมืองที่มีการขนส่งที่อัจฉริยะและเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยคนท้องถิ่นได้อย่างไร” ยิ่งไปกว่านั้นเราต้องรู้จักคน เข้าใจคน เห็นภาพความสำคัญที่ตรงกันร่วมกัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถพัฒนาต่อไปได้ และยังมีมุมมองในฐานะคนในท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักพัฒนาเมือง ที่ว่าการพัฒนาจะไม่มีประโยชน์ใดเลย ถ้าธุรกิจเราเติบโต แต่ชุมชนล้มเหลว”
สำหรับการบรรยายพิเศษภาคบ่ายเริ่มต้นในหัวข้อ ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ด้วยโซลูชันพลังงาน สะอาด (Smart Energy Solutions for Sustainability) โดย นายชนิต สุวรรณพรินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริหารการตลาดและการขาย บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด นั้น ได้เล่าถึง เหตุผลที่จะต้องมีการนำเอาแพลตฟอร์มพลังงานสะอาดมาใช้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจกระแสใหม่ โดยมีการคาดการณ์ว่าอัตราประชากรจะเพิ่มขึ้น และอาศัยในเมืองเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้น 30 ปีมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 68% ในปี 2050 นี่จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องมีการพัฒนาเมือง โดยมีการนำเอาแพลตฟอร์มดังกล่าวมาใช้ เพราะเมื่อมีการรวมตัวของประชากรอย่างหนาแน่น หากเราสามารถจัดการให้กะทัดรัด และหลากหลาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ คล่องตัว และน่าอยู่ ได้จึงเป็นเรื่องที่ดี พร้อมยกตัวอย่าง การให้บริการเช่ารถซึ่งถือเป็นทางออกของพลังงานสะอาดที่ยุคปัจจุบันในหลาย ๆประเทศให้ความสนใจ
ต่อด้วยการบรรยายพิเศษหัวข้อ โอกาสใหม่ในการลงทุนของเมือง โดย นายเสนีย์ สมมา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ เทลคอม จำกัด (มหาชน) ได้มีการสร้างความรู้จักกับบริษัทก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้รับการอบรมว่า บริษัทของตนนั้นส่วนใหญ่รับงานจากรัฐบาลเป็นหลัก และมีลักษณะของบริษัทที่พร้อมสร้างระบบตอบสนองความต้องการของหลวง และมองถึงค่าใช้จ่ายที่หลวงรองรับได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งต่างประเทศ เพราะบริษัทของตน มีคนที่มีศักยภาพในการทำงาน ชำนาญเฉพาะด้าน บริษัทจึงมีความโดดเด่นและได้รับความต้องการอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการสร้างเครือข่ายไปทั่วประเทศ โดยจุดเด่นของการทำงานของบริษัท คือ ระบบหลังบ้านในการบริหารจัดการขององค์กรและมีการให้บริการระบบที่พร้อมนำมาแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเทศบาลการพัฒนาเมือง เพราะปัจจุบันต้องเข้าใจก่อนว่า เศรษฐกิจชีวภาพ หรือเมืองกสิกรรมในปัจจุบันต่างกับอดีต ในอดีตเน้นเพื่อการบริโภค แต่ปัจจุบันประเทศเราเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าทางการเกษตร เช่น การทำไบโอโคโนมิ ยิ่งไปกว่านั้นในเศรษฐกิจชีวภาพซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจใหม่คือการพลักดันเศรษฐกิจใน 5 มิติ ๆ ในที่นี้คือพัฒนาตามความเหมาะสมของทรัพยากร ความเชี่ยวชาญ สังคม สภาพเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และเรื่องของเทคโนโลยีดิจิตอล และจากการทำงานกับหลายหลายเมืองที่ผ่านมา ทำให้เราเล็งเห็นการจัดอันดับสมาซิตี้ของพื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่ที่บริษัท ได้มีส่วนในการทำงานร่วม จะเห็นได้ว่าในหลายพื้นที่มีการหาแหล่งทุนจากที่อื่นมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งสิ่งนี้จึงอยากจะให้ผู้นำหลายๆ พื้นที่นำมาใช้ เช่น หากองทุนที่จะสามารถรองรับการพัฒนาเมืองได้
และปิดท้ายการปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย หลักสูตร พมส. ครั้งที่ 5 โดยผู้บริหารของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) รศ. รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ พร้อมด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น และภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศ ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ต่างพร้อมใจร่วมกันแสดงความยินดีกับ นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองสนั่นรักษ์ ในการดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย คนที่ 34 และนายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยด้วยเช่นกัน