บพท. พมส. ARV และ ม.บูรพา เข้าพบนักวิจัยเมืองพัทยา เพื่อพลิกโฉมเมือง ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) และมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าพบนักวิจัยเมืองพัทยา เพื่อพลิกโฉมเมือง ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) พร้อมด้วยนักวิจัยคณะทำงานหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) โดย ดร. ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนักวิจัยในโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) โดย ดร. จักรพันธ์ จุลละโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์ จํากัด และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา นำโดย ดร. ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี ได้เข้าพบผู้บริหารและบุคลากรเมืองพัทยา นำโดย นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา และดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา เพื่อหารือการดำเนินโครงการวิจัยการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ร่วมกับนักวิจัย รวมถึงฝ่ายต่าง ๆ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมคนทำงาน สร้างการเปลี่ยนแปลง ซักซ้อมความเข้าใจ และตอบประเด็นซักถามและข้อหารือในประเด็นต่าง ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง
โดย รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ กล่าวว่า “วันนี้นอกเหนือจากการมาทำความเข้าใจร่วมเชิงวิชาการ และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบ output ร่วมกัน ระดับความพร้อมของข้อมูลที่จะเติมต่อไฮไลต์ของเมืองพัทยา เพื่อมุ่งสร้าง Smart Health ชุดข้อมูลที่จะตอบโจทย์ระบบสุขภาพ และวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการก่อนพลิกโฉมเทศบาลเมืองพัทยาให้เข้าสู่เมืองดิจิทัล เพื่อจัดการระบบสุขภาพอัจฉริยะของเมืองพัทยา แล้ว ต้องขอขอบคุณ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา ดร. ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดร. จักรพันธ์ จุลละโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์ จํากัด และทีม ที่วันนี้มาร่วมพัฒนาระบบสุขภาพอัจฉริยะของเมืองพัทยาด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง และความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่จะทำให้องค์กรมีการพลิกโฉมองค์กร ให้เป็นองค์ดิจิทัล”
สาระโดยสังเขปของการหารือกับนักวิจัยเมืองพัทยา นั้น ทางทีม บพท. พมส. ARV พร้อมทีมโค้ชด้านวิชาการในพื้นที่ อย่างคณาจารย์จากหลากหลายสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยบูรพา จะร่วมกันทำเครื่องมือสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพเมือง ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง เช่น เมืองพัทยา มีCCTVทั่วเมือง แต่ทว่ายังไม่มี AI ที่จะเข้าไปจัดการ ยกตัวอย่าง หากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ระบบจะส่งข้อมูลอัตโนมัติให้ ทีมจัดการดับเพลิงต่อทันที ผู้บริหารวางแผนการจัดการปัญหาฉับไว หรือแม้กระทั่งการถ่ายเทคนออกนอกพื้นที่อัตตรายได้ทันท่วงที เพราะนี่คือสิ่งที่เมืองพัทยา อยากจะmonitorให้ได้ เพราะมองว่า “ประชาชนทุกคนอยู่ในสายตาเรา เราต้องตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยเหลือประชาชนได้จริงๆ” ด้านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) และมหาวิทยาลัยบูรพา ก็พร้อมให้การสนับสนุนการทำงานตรงนี้
อนึ่ง เพื่อพลิกโฉมเมือง ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) และมหาวิทยาลัยบูรพาต่างร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับเมืองพัทยา เนื่องจากแต่ละพื้นที่ในเขตเมืองพัทยามีบริบทต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นในแพลตฟอร์มกลางนี้ทางเมืองพัทยา สามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของระบบ หรือองค์ประกอบได้ตามความต้องการ หรือสามารถส่งความต้องการการปรับปรุงแฟลตฟอร์มไปยังทาง AI & Robotics Ventures (ARV) โดยตรง เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการในทันที และในอนาคตแฟลตฟอร์มนี้ ภายใต้ บพท.จะมีส่วนในการพัฒนาและพลิกโฉมเทศบาลให้เข้าสู่เทศบาลดิจิทัล และจะเป็นอีกส่วนที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศได้