บพท. และ ม.ส.ท. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ม.ส.ท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ม.ส.ท.) ส่งเสริมการพัฒนาเมือง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อส่งเสริมความรู้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการและพนักงานจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาพสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้แก่ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ และบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 100 คน

โดยในวันที่ 8 มิถุนายน 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาพสินธุ์ ได้เชิญ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุน วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ม.ส.ท.) เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง การยกระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยข้อมูลความรู้ และความร่วมมือในระดับประเทศ และบรรยายเรื่อง การยกระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยข้อมูลความรู้ และความร่วมมือในระดับประเทศ ณ ห้องประชุมแพรวา (ชั้น 5)  องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 

เริ่มต้นการบรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ อันมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้ “อบจ. เป็นหน่วยงานเชิงพื้นที่ ที่ทำให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพ เพราะอำนาจในการตัดสินใจ ล้วนอยู่ที่ อบจ. ยิ่งไปกว่านั่น บริบทเชิงพื้นที่ที่มีทั้งเขื่อนทั้งน้ำ จึงมีการส่งออกสินค้า ทั้ง ปลาเนื้ออ่อนจากเขื่อนลำปาว เห็ด และกุ้ง อยู่ตลอดฤดูกาล ดังนั้นหาก ผู้นำ อบจ. ต้องการกติกาบางอย่างที่จะนำมาจัดระเบียบสังคม การมีทั้งมีโครงสร้าง และกลไกที่เกื้อหนุนการบริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับ สิ่งที่ อบจ. ต้องเผชิญ คือ (1) รพ.สต. จำนวนมากกว่า 51 แห่ง ซึ่งมีบุคลากร จำนวนมากกว่า 400 คน แต่ทว่ามีประชากร ที่เข้ามาใช้บริการกลับมีเป็นจำนวนมากกว่า (2) การจัดการการศึกษาไม่ใช่แค่การศึกษาในระบบ และนอกระบบแต่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต จึงคาดว่าประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ และความคาดหวังเรื่องประสิทธิผล ของประชาชนจึงต้องเหนือกว่า เพราะวิถีชีวิตของคนแต่ละพื้นที่ต่างกัน นี่คือ ฐานที่สำคัญ (3) การลดขั้นตอนการทำงาน การลดเอกสาร เพื่อลดโลกร้อน ลดปริมาณคาร์บอน ซึ่งเป็นกฎของโลก อบจ.อยู่ในระบบโลก หนีไม่พ้นเรื่องคาร์บอน (4) เมื่อช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก โรงแรมต่างๆ ไม่มีแขกเข้าพัก มีราคาที่ถูกลงมาก ภาษีจากโรงแรมก็ไม่สามารถเก็บได้ และภาษีน้ำมันลดลงถึง 50% อีกทั้ง การเรียนออนไลน์ระดับในการเรียนรู้ต่ำลงด้วยใน ช่วงโควิด-19 (5) หัวใจของแผนต่าง ๆ คือ “ข้อมูล” เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาตรงจุด ตรงเป้าที่ต้องการ และเมื่อมีทรัพยากรจำกัด ทุนจำกัด ข้อมูล คือสิ่งที่จะทำสิ่งต่างๆให้มีประสิทธิภาพได้ เพราะ ข้อมูล คือหัวใจ ดังนั้นต้องทำข้อมูลให้มีชีวิต และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ และ (6) จะต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการทำงาน เพื่อที่จะยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีข้อมูล เก็บไว้ตรงกลางสำหรับหน่วยงานและประชาชน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ระบบ E-office ซึ่งจะมีองค์ความรู้ ที่พร้อมให้นำมาใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ โครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือประดับประเทศ

ด้าน ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของโลก 4 เทรน การเปลี่ยนแปลงของโลก กฎของมัวร์ พร้อมเล่าว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกร้อน มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันสหรัฐอเมริกา มีผลผลิตทางการเกษตรที่ดีขึ้น เพราะให้ความสำคัญกับการลดโลกร้อน ท่ามกลางความหลากหลายทางชีวะภาพ ซึ่งหายไปกว่า 25%

จากนั้นได้เชื่อมโยงให้เข้าใจโครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือประดับประเทศ ว่าโครงการมีกระบวนการวิจัยจะต่างจากที่เรียนมาที่วิจัยเพื่อค้นหาความรู้และเพื่อทดลอง แต่ในการวิจัยในโครงการฯนี้ เป็นการวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้อยากให้ อบจ. สรุปภาพรวมก่อนการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นอย่างไร จะนำเอาอะไรมาเพื่อเปลี่ยนแปลงบ้าง ถ้าสำเร็จแล้วจะต่อยอดอย่างไร พร้อมกล่าวเชิญชวน อบจ.กาฬสินธุ์ ปิดท้ายการบรรยายด้วยว่า “ถ้าอยากทำวิจัยให้เขียน Proposal เล็ก ๆ เพื่อยื่นขอทุนจาก บพท. แล้วลองเอามาทำดูว่าจะทำได้มั้ย โดยทางหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ม.ส.ท.) พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่แล้ว”