โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ เดินหน้าปรึกษาหารือบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ถึงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่

โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ เดินหน้าปรึกษาหารือบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ถึงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์

โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ร่วมหารือกับ บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำการให้บริการซอฟต์แวร์อย่างครบวงจรด้าน e-Logistics และ e-Enterprise ที่ครอบคลุมการให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เหนือกว่าด้านประสิทธิภาพและต้นทุนที่ต่ำลง และด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประสบการณ์ในการพัฒนา และการให้บริการทางด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ครบวงจร ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) พร้อมด้วยนักวิจัยโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ โดย ดร. ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้ร่วมหารือกับผู้แทน บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ถึงการพัฒนาและเผยแพร่แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์

          โดยมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้ ความร่วมมือ เทคโนโลยี ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม ผ่านความร่วมมือกับผู้คิดค้น สร้างสรรค์ และพัฒนา Digital Business Technology Platform ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Business Services) และการให้บริการ (SaaS: Software as a Service) อย่างครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ (B2G)  ในการหารือครั้งนี้ ทางทีม บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการนำเสนอ 2 กลุ่ม บริการ คือ 1. กลุ่ม Digital Business Services และ 2. กลุ่ม Digital Transformation (Projects) ที่จะนำสู่ความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงการทำงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการแบ่งออกเป็น 1. ระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISMS 2. ระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลPIMS 3. e-LOGISTICS Platform (Digital Business Services) 4. e-TAX & e-BUSINESS (Digital Business Services) และ 5. alternative PRODUCTS Digital Transformation Projects อีกทั้งยังฝากแผนงานในอนาคตให้กับทางเทศบาลว่า เทศบาลต่อจากนี้ไปต้องทำหน้าที่ในลักษณะเป็นแพลตฟอร์ม ทั้ง ในด้านการให้บริการกับประชาชนด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมือง และด้านการบริหารจัดการองค์กรด้วยการและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจำนวนมาก (Big Data)

          ในการนี้ เทศบาล 4.0: เทศบาลในฐานะแพลตฟอร์ม (ด้านความคิด กระบวนการทำงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน) จะต้องมีรูปแบบแผนการดำเนินอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ โดยการใช้การสถาปัตยกรรมข้อมูล (Data Architecture) มีแพลตฟอร์มการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ดังนี้ 1) Capture: ดิจิทัลภิวัฒน์ (Digitalization) เป็นการศึกษาข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล 2) Curate: ยืดหยุ่น ว่องไว (Agile) การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI/ML 3) Consume: รองรับความต้องการที่หลากหลาย เป็นการสร้างข้อมูลเชิงลึก (Insights) และการเข้าถึงคุณค่าของข้อมูล อีกทั้งการดำเนินงานจากที่กล่าวมายังเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานในรูปแบบการกระจายอำนาจแบบเครือข่าย (Distributed Network) ได้อีกด้วย