พมส.1 รุ่นที่ 1 ประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับเทศบาลที่ได้รับทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับเทศบาลที่ได้รับทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.1) รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 จัดประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ กับเทศบาลที่ได้รับทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในวันที่ 11 เมษายน 2566 ผ่านระบบ ZOOM MEETING โดยมีคณะทำงานฯ จากหน่วย บพท. มูลนิธิส่งเสริมการปกครองอท้องถิ่น และบริษัท  AI & Robotics Ventures (ARV)  รวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เข้าร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่หารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ ร่วมกับนักวิจัยในโครงการฯ รวมถึงฝ่ายต่าง ๆ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซักซ้อมความเข้าใจ และตอบประเด็นซักถามและข้อหารือในประเด็นต่าง ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัย

สาระโดยสังเขปของการหารือกับ 17 เทศบาล อันประกอบด้วย เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เทศบาลตำบลท่าม่วง เทศบาลตำบลท่ายาง เทศบาลตำบลพระแท่น เทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ เทศบาลเมืองมหาสารคาม เทศบาลตำบลหนองกี่ เทศบาลตำบลละหานทราย เทศบาลตำบลห้วยเม็ก เทศบาลนครยะลา  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองกันตัง เทศบาลเมืองสะเดา และเทศบาลตำบลบ้านนา คือ ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับผู้แทน บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) ได้อธิบายกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซักซ้อมความเข้าใจ และตอบประเด็นซักถามและข้อหารือในประเด็นต่าง ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัย

ซึ่งในการประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯครั้งนี้ เทศบาลที่ได้รับทุน คณะทำงานฯ บพท. มูลนิธิฯ และบริษัท AI & Robotics Ventures (ARV)  รวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ร่วมกับนักวิจัยในโครงการฯ ฝ่ายต่าง ๆ จาก 17 เทศบาล และภาคีที่เกี่ยวข้อง ต่างเห็นร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในแต่ละพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยี ระบบดิจิทัล ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในองค์กร และบุคลากร เกิดการพัฒนา ต่อยอดให้กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบ