ครั้งที่ 3 กับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2

ครั้งที่ 3 กับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2 “ชูการทำให้ข้อมูลมีชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล”

          ในระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2566 หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2  ได้มีการจัดประชุมปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ภายใต้ตัวบทปฏิบัติการ “ทำให้ข้อมูลมีชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล” โดยครั้งนี้จัด เป็นครั้งที่ 3 และได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและกลไกในการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล มาให้ข้อมูลความรู้ พร้อมเชิญผู้นำท้องถิ่นเข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน และเป็นการถอดบทเรียนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเกิดองค์ความรู้ไปปรับใช้และนำมาปฏิบัติ

          สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง วันที่ 15 มีนาคม 2566 เริ่มต้นด้วย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. กล่าวทบทวนเป้าหมายการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง อันมีใจความโดยสังเขปดังนี้ “โครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ มีเป้าหมายเพื่อลงมือปฏิบัติการ การวิจัย พัฒนากิจการสาธารณะ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลความรู้ บนฐานการวิจัย รวมถึงการจัดการระดับพื้นที่ โดยครั้งที่ผ่านมา ทางมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มุ่งสร้างนักพัฒนาเมืองท้องถิ่น และหวังว่าศักยภาพ ความพร้อมทุกส่วนที่เกิดขึ้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงกล่าวขอบคุณ บพท. ที่ให้โอกาสที่สำคัญในการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงมือพัฒนาท้องถิ่น เรียนรู้ร่วมกัน และมีความคาดหวังว่าภายใน 2 เดือนหน้าหัวหน้าโครงการที่เข้าร่วมในภูมิภาคของไทย จะร่วมกันเสนอโครงการวิจัยพร้อมทั้งสนับสนุนหุ้นส่วนในการพัฒนาของประเทศไทย

การเรียนรู้ พมส.2 ที่ผ่านมามีการพูดถึงในเรื่องของ เมืองเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร? โดย ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และในการจัดอบรมครั้งที่ 3 นี้ ยังมี รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาร่วมให้ความรู้เรื่อง “เมืองแห่งอนาคต: เมืองอัจฉริยะ” ร่วมด้วยในวันที่ 16 มีนาคม 2566 เพื่อสร้างการรับรู้ว่าเมืองในปัจจุบันเผชิญกับอะไร นักพัฒนาเมืองฯ เตรียมพร้อมรับมืออย่างไร จะประเมินศักยภาพเมืองอย่างไร และการที่เราจะ move นั้นต้องอาศัย digital technology เข้ามาเป็นตัวช่วย และ partner มาร่วมในการพัฒนาฯ อีกแรงหนึ่งด้วย

จากกนั้น พวกเรา พมส.2 จะได้ลองประเมินว่าท้องถิ่นจะเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างไร เครื่องมือมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน จะไปต่ออย่างไร ทางมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น บพท. ภาคเอกชน อื่น ๆ จะทำให้ทุกท่านพร้อมได้อย่างไรนั้น ทางหลักสูตร พมส.2 ได้มีการเตรียมผู้รู้ privacy Thailand อย่าง ผศ.ดร.นคร เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการ Privacy Thailand และ ผศ.นุรัตน์ ปวนคำ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาพูดถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลขององค์กร การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมาย และธรรมาภิบาลข้อมูลและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในท้องถิ่น

อีกทั้งยังมี ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะมาพูดถึง Digital Transformation/ Change Management ที่อธิบายถึงการบริหารราชการแผ่นดิน และในเรื่องของการพลิกโฉมองค์กร การใช้ digital transformation ความคาดหวังในการประเมินศักยภาพและความพร้อมด้าน digital technology ของแต่ละองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเมืองได้อย่างไรนั้น และต้องพัฒนาท้องถิ่นอย่างไรที่จะส่งผลให้การออกแบบเมืองกลายเป็นเมืองชาญฉลาดและน่าอยู่ยิ่งขึ้น”

ต่อด้วยการสะท้อนวิสัยทัศน์ผู้นำ โดย นายอติเทพ ธัญญกสิกล นายกเทศมนตรีตำบลบางประมุง เทศบาลตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “ด้วยเทศบาลตำบลบางประมุงเป็นเมืองชนบทส่วนใหญ่ มองเรื่องของการดำเนินชีวิต ปัจจัยที่การมีรายได้ที่มั่นคง โดยจัดการเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ริมคลอง พื้นที่เชิงเขา ที่จะต้องมีการควบคุมน้ำ ต้องหาทางแก้ไขไขปัญหาน้ำให้เพียงพอ ดังนั้นจะต้องทำอย่างไรในการที่จะสร้างให้ประชาชนมีรายได้มั่นคงขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น มีการมองถึงสิ่งแวดล้อม เพราะโครงสร้างพื้นฐานถ้ามีโอกาสจะเห็นภาพชัดมากในการเปลี่ยนแปลง เช่นการจัดการน้ำในรูปแบบแนวทางต่างๆในอนาคต ดังนั้นแล้ว เทศบาลตำบลบางประมุงต้องการให้เมืองมีสุขภาวะดี ฟื้นฟูความสุข รวมไปถึงตัวชี้วัดที่มี 9 ด้าน คือเริ่มทำหลายส่วนพร้อมกัน ที่สำคัญการ 1.ด้านการรีไซเคิลและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเทศบาลได้มีโครงการปลอดโฟม 2.ด้านการปฏิบัติธรรม 3. ด้านการส่งเสริมสถานที่ ที่มีความเป็นธรรมชาติ4.ด้านการมีแหล่งอาหารปลอดภัย 5.มีด้านการมีธุรกิจเพื่อสังคมและสุขภาพในเมือง 6.ด้านการมีสถานที่ออกกำลังกายในเมือง 7.มีกลุ่มทางสังคมและจิตอาสา 8.ด้านการมีแหล่งเรียนรู้ของเมือง 9.ด้านการป้องกันและดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และหวังว่าภาพจำในอนาคตของเทศบาลตำบลบางประมุงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น และทั้งหมดนี้คือแนวทางในขการพัฒนาท้องถิ่น ให้เป็นบ้านหลังที่ 2 ที่จะนึกถึง และเป็นเมืองที่น่าอยู่”

          และวิสัยทัศน์ผู้นำของ นายกฤษณะ วิสุทธิ์เศรษฐ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมือว จังหวัดนครสวรรค์ อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “จากเดิมพื้นที่ ทางด้านของตำบลวัดไทรย์เดิมเป็นเกษตรกรรม จนปัจจุบันมีการเพิ่มขยายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น และขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในบริบทการพัฒนาเมือง ซึ่งต้องมีบริบทในการบริหาร มีลักษระการบริหารคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารท้องถิ่น ฯลฯ ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและจำนวนเจ้าหน้าที่มีการศึกษาปัญหา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องขยะ น้ำ ส่วนสำคัญเชื่อว่าการพัฒนาเมืองนั้น การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประชาชนมาใช้ เป็น 1 ในทางเลือกที่ดีในการพัฒนา ด้วยการที่มีข้อจำกัดทางองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ จึงต้องหาวิธีการและการทดลองใช้ในการพัฒนา ซึ่งในปัจจุบันมีเป้าหมายโดยเน้นไม่ที่การมีชีวิตที่ดี ให้ความสำคัญในเรื่องคน ซึ่งสำคัญคือ ที่อยู่อาศัย รวมทั้งคนที่ทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการบริหารร่วมกัน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นส่วนช่วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก เช่น ใช้ระบบ trans service เปิดช่องทางให้ประชาชนแจ้งข้อร้องทุกข์ ร้องเรียนได้ตลอด 24 ชม. ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งครอบคลุมได้ทั่วถึง การซ่อมแซมไฟฟ้าก็แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เสียงตอบรับจากประชาชนค่อนข้างพึงพอใจในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีก็ตอบโจทย์ต่อการนำมาใช้ การใช้ QR code ก็เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นฯ สามารถลดความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน”

          จากนั้นเป็นการให้ความรู้ เกี่ยวกับการการประเมินความพร้อมด้านดิจิทัล (Digital Maturity Assessment: DMA) และปัจจัยสู่ความสำเร็จของ Digital Transformation โดย ดร. จักรพันธ์ จุลละโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์จำกัด และรศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ร่วมดำเนินรายการ ดังนี้ “บริษัท ARV นั้นถือหุ้นด้วย PTT 100% เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนภาคเอกชนและรัฐบาล เพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ เช่น การแปลอักษรด้วยโดรน ซึ่งเกิดขึ้นที่แรกของอาเซียน ผลงานของ ARV พัฒนานวัตกรรมสู่ตลาดทั้งในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ซ่อมท่อในทะเล ซึ่งเป็นการมีครั้งแรกของโลก พัฒนาการใช้โดรนไร้คนขับ ใช้โดรนในการจัดการการเกษตร ใช้ platform การดูแลสุขภาพคนไทยด้วยสายรัดข้อมือ ,blockchain ,bedrock โดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ต่าง ๆโดยร่วมมือกับ บพท. รวมถึงจากข้อมูลที่เรามี และอะไรคือ Digital transformation? คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในงานต่างๆ เกิดกระบวนการทำงานใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสังคม เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ในเรื่องของความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยกานำเทคโนโลยี เข้ามาเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน เพื่อช่วยให้เกิดความสามารถมากขึ้น เพื่อเข้ามาช่วย บพท. เหนื่อยน้อยลง แต่ยังคงมีประสทธิภาพ ดังนั้นแล้วการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและบริการทางธุรกิจ ทั้งแบบเดิมและที่ไม่ใช่ดิจิทัล หรือสร้างการบริหารให้มีความสอดคล้องกับธุรกิจ รวมไปถึงการที่จะนำเทศยาลไปสู่ เทศบาล 4.0 ก็นำ platform การนำข้อมูล และที่สำคัญขาดไม่ได้เลยคือธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่

จากการวิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้สำเร็จคือ 1.กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับพันธกิจเทศบาล 2.ออกแบบโดยสร้างบุคลากรใหม่ให้เหมาะสมกับ 4.0 3.จัดหาบุคลกร/เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีความสามารถเพื่อมีการ change agent 4.การลงทุนกับบริหารงานของท้องถิ่น 5.การขับเคลื่อนของผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง 6.ติดตามความคืบหน้าเพื่อผลลัพธ์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสอดรับกับบริบท จะใช้การประเมิน 5 ด้านเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเทศบาลได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์และแผน 2.ศักยภาพบุคคลกรและทักษะ 3.เทคโนโลยี 4.ข้อมูลดิจิทัล 5.ผลลัพธ์ รวมไปถึงการยกระดับของเทศบาลในการใช้ดิจิทัลแบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่ 1.เทศบาลกำลังยกระดับ 2.เทศบาลเตรียมพร้อม 3.เทศบาลก้าวทัน 4.เทศบาลบูรณาการ 5.เทศบาลอัจฉริยะ ซึ่งการเป็นอัจฉริยะ มีปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยนเป็น 4.0 ผู้นำจะต้องให้ความสำคัญกับระบบดิจิทัล การใช้เทคโนโลยี ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปลี่ยนผ่านจากรูปแบบเอกสาร การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบุคลากรก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ในด้านของเทคโนโลยีก็มีการนำเอา dashboard เข้ามาช่วยในการจัดระเบียบ เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆในการงิเคราะห์ข้อมูล ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพราะเทศบาลมีสาวนในการถ่ายทอดสู่สังคมชุมชนได้ และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนได้ รวมทั้งมีการประเมินความพร้อมในการใช้ เพื่อออกแบบเทศบาลในอนาคต และเพื่อที่จะช่วยเหลือในเรื่องของแผนการดำเนินงาน ใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆพัฒนาสู่เมืองดิจิทัลในอนาคต”

          ต่อด้วย เรื่อง กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลขององค์กร การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมาย และธรรมาภิบาลข้อมูลและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในท้องถิ่น โดย ผศ.ดร. นคร  เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการ Privacy Thailand ผศ.นุรัตน์ ปวนคำ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

          โดยในส่วนของ ผศ.ดร. นคร  เสรีรักษ์  นั้นได้อธิบายถึง 2 ประโยคหลักที่ชอบมากคือ ประโยคแรกคือ ความเป็นส่วนตัว และ 2.สิทธิที่จะรู้ ซึ่ง2คำนี้ มีความสำคัญแตกต่างกัน ในเรื่องของสิทธิที่จะรู้นั้นถือว่าเป็นสิทธิของทุกคน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะรู้ ในขอบเขตของความรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือ ข้อมูลรัฐ สาระสำคัญเหล่านี้คือ สิทธิของพลเมืองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ ใน พ.ร.บ ข้อมูลข่าวสารราชการ ความเป็นส่วนตัว คือ สิทธิที่เป็นด้านเฉพาะของมนุษย์ทุกคน ซึ่งพรบ.ข้อมูลฯมีบทบัญญัติในการพูดถึงระบบข้อมูลข่าวสารฯ ดังนั้นจึงเป็นพื้นฐานของข้อแรกและกฎหมายหลักในการบริหารจัดการข้อมูลทุกภาคส่วน

          ด้าน ผศ.นุรัตน์ ปวนคำ ได้พูดถึงบททั่วไปว่าด้วยข้อมูลข่าวสารฯ ความหมาย/บทบาท รวมถึงขอบเขตในการใช้กฎหมาย ซึ่งคำว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลฯ เป็นสิ่งครอบคลุมระบุตัวตนได้ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งในท้องถิ่นจะมีข้อมูลหลายประเภทมาก ภาคท้องถิ่นจะเริ่มปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องแยกก่อนว่าข้อมูลใดจะเข้ามาอยู่ในระบบท้องถิ่น และอยู่ภายใต้ กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งข้อมูลส่วนบุลมี่อยู่ 2 ประเภทประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลส่วนบุคคลแบบละเอียดอ่อน ซึ่งถ้ามองถึงภาระงานของระบบท้องถิ่นจะพบว่ามีอยู่ 2 ปัจจัยคือ 1.คนภายในองค์กร ซึ่งมีฐานข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในองค์กรอยู่แล้ว 2.มาจากองค์กรภายนอก ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นกัน ดังนั้นผู้บริหารถือว่าสวมหมวก 2 ใบมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารฯ ไม่ว่าจากภายในองค์กร หรือจากภายนอก ในส่วนของขอบเขตการใช้กฎหมายของท้องถิ่น ยังคงต้องอยู่ภายใต้กรอบของ PDPA อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยแนวคิด PDPA เป็นแนวคิดพื้นฐานคุ้มครองข้อมูลข่าวสารฯ มีอยู่ 4 หลักคือ 1.ความยินยอม 2.ความจำเป็น 3.โปร่งใส 4.ปลอดภัย และยังมีการพูดถึงหลักการคุ้มครองภายใต้ PDPA มี 3 หลักใหญ่ในส่วนของ privacy และ security คือ 1.เก็บรวบรวมข้อมูล 2.ความถูกต้องสมบูรณ์ 3.พร้อมใช้งาน 4.เก็บรักษา 5.ทำลาย ภายในองค์กรต้องออกกฎระเบียบวิธีปฏิบัติ รวมถึงการสร้างการตระหนักรู้ ด้านเทคนิค ด้านกายภาพเช่นเดียวกัน ส่วนในเรื่องของการเตรียมความพร้อมถ้าพูดถึงในการปฏิบัติของท้องถิ่นสามารถเก็บรวบรวมให้ถูกต้องโดยคำนึงถึง 3 หลักการ คือ การได้รับความยินยอม เก็บเท่าที่จำเป็น และแจ้งวัตถุประสงค์ โดยการใช้ consent form , privacy notice ร่วมด้วยได้ หลักการนี้จะช่วยคุ้มครองเจ้าหน้าที่และสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลฯด้วย

          วันที่ 15 มีนาคม 2566 เป็นการให้ความรู้เรื่อง “เมืองแห่งอนาคต: เมืองอัจฉริยะ” โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “การพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคตให้เป็นเมือง smart city โดยให้นิยามว่า คนเร่ร่อนกลุ่มเดียวไม่สามารถพัฒนาไปเป็น “เมือง” ได้ โดยอธิบายถึงต้นกำเนิดความเป็นมา ความมั่นคงในชีวิตไม่ว่าจะเป็นระบบทางธรรมชาติ รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่าข้าศึกศัตรู ในเชิงเปรียบเทียบว่าทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร มีการจัดการแก้ปัญหาในแต่ละด้านอย่างไร เมืองทำหน้าที่ในการพึ่งพาผู้คนในชุมชนชนบท ซึ่งนับว่ามีความแตกต่างจากบุคคลในเมือง ย้อนกลับมาที่ลักษณะพิเศษของเมือง เกิดจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือการแบ่งงานกันทำ คำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก ปัจจัยโลกที่ก้าวสู่สมดุลแห่งการพัฒนา (balance of 3E) ประกอบด้วย 1. Economy 2. Environment 3. Equity ภาครัฐมีการกำหนดนโยบาย จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อชี้นำการพัฒนา ส่วนภาคเอกชน/ประชาชนนั้น จะมีบทบาทคือการเลือกผู้แทนที่มีนโยบายสอดคล้องกับตนเอง ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางที่รัฐกำหนด และจ่ายค่าใช้โครงสร้างพื้นฐาน”

          ต่อด้วยการแสดงวิสัยทัศน์ผู้นำของรุ่นพี่ พมส. รุ่น1 นางสาวนันทนิตย์ จิตหนักแน่น นายกเทศมนตรีตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ความว่า “หลักสูตรที่พัฒนาศักยภาพคนในองค์กร จำเป็นต้องขยายข้อมูลที่มีคนและงานรวมไปถึงงบประมาณด้วย สุดท้ายคือ พรบ.ข้อมูล อปท.ต้องการวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล ปรับปรุงอย่างไรให้เกิดการเกิดพัฒนาและยกระดับท้องถิ่น โดยยกระดับงานวิจัย เติมเต็มหลักสูตรและหน่วยงานต่าง ๆ และตระหนักถึงบริบท “ผู้นำ” แนวคิดการบริหารแต่ละด้าน และจะนำไปพัฒนาบริบทในแต่ละพื้นที่อย่างไร

          ด้าน นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ ยังได้ให้เกียรติแสดงวิสัยทัศน์ผู้นำ ในฐานะรุ่นพี่ พมส. รุ่น1 ด้วย ดังนี้ “เราจะเรียนรู้ถึงการพัฒนาเมือง ถ้าพูดถึงการพัฒนาเมืองหลักสูตร พมส. จะมาเติมเต็มในส่วนที่ขาด การมีอำนาจในมือในการนำไปพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างขอนแก่น จะสามารถใช้อำนาจได้เต็มที่ และวิธีคิดอยากให้คิดนอกกรอบ เอาเป็นที่ตั้งในการร่างโครงการต่าง ๆ ของการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการเข้าถึง smart city พมส.เลยจะข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง มาแนะนำวิธีการ ปรับเปลี่ยน mindset ให้ผู้นำใช้หลักการที่ถูกต้องมาพัฒนาเมืองของเรานั่นเอง”

          และปิดท้าย การเรียนผ่านระบบออนไลน์ ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 3 ด้วยเรื่อง Digital Transformation Change Management  โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มาขมวดความรู้เรื่องการทำให้ข้อมูลมีชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้ “ความจริงแล้วองค์กรของอาจมีการปรับใช้เทคโนโลยีบางอย่างไปบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย ซึ่งการทรานส์ฟอร์มองค์กรจะสามารถเพิ่มโอกาสให้การดำเนินงานให้ไม่ยุ่งยาก ลดความยุ่งยากในการทำงานลงได้ และยังสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของวัฒนธรรมในองค์กรให้เข้ากันกับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร หรือโปรแกรมการทำงาน ที่ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ประหยัดเวลา และสามารถใช้ศักยภาพที่ตนเองมีเพื่อวางแผนงานที่ให้มีศักยภาพมากขึ้น ดังนั้นการเข้าใจถึงความสำคัญของ Digital Transformation ความสามารถ วิธีการนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการซึ่ง Digital Transformation ถือเป็นเป็นเครื่องมือเข้ามามีส่วนช่วย โดยความคิดเดิมส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กับการคิดตามระบบขั้นตอน ดำเนินการไปทีละขั้น ใช้ระบบคนในการวางแผนการดำเนินงาน ผู้บริหารยังติดอยู่กับการทำหน้าที่ด้วยระบบเดิม หากจะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและยังคงมีหลักฐานเปนประจักษ์ เครื่องมือที่จะเข้ามามีส่วนช่วยเป็นเรื่องของ  digital ระบบที่ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก จึงเป็นที่มาของคำว่า “นี่แหละคือการเปลี่ยนวิธีคิด” เปรียบเทียบในความหมายของคำว่า change ที่แท้จริง ในการนำมาพัฒนาระบบท้องถิ่นหากใช้ระบบ digital แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเริ่มต้นการดำเนินงานด้วยการวางแผนขั้นตอนออกแบบแรกด้วยการนำเอา digital by design เข้ามามีส่วนช่วย ยังมีองค์ประกอบสำคัญของ digital by design ไม่ว่าจะเป็น customer centricity, agility and adaptability, Data-driven decision-marking, collaboration and integration, continuous innovation and improvement ซึ่งถ้ากล่าวง่ายๆคือ “การบริหารองค์ส่วนใหญ่ล้วนไม่ใช่ IT แต่เป็นการ DESIGN” หรือใช้ไอเดียแทน และในองค์กรจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น enterprise resource และplanning ร่วมด้วยเช่นกัน”