บพท. หนุนภาคีขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ กับหลักสูตร พมส.2

“หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เปิดตัวหลักสูตร “นักพัฒนาเมืองระดับสูง 2” เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (Active Learning) ให้กับนายกเทศมนตรีทั่วประเทศ หวังปั้นผู้บริหารท้องถิ่นสู่นักพัฒนาเมืองมืออาชีพ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมยกระดับเทศบาลสู่กลไกการเติบโตใหม่ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน”    

            หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเปิดตัว “หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง 2 (พมส.2)” เมื่อระหว่างวันที่ 1 -2มีนาคม 2566  ที่ ห้องประชุมชั้น 5 เทศบาลนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์  โดยมีผู้บริหารท้องถิ่น พร้อมภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศกว่า 150 คนเข้าร่วม โดยมี นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ และประธานคณะกรรมาธิการโยธาและผังเมืองสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ให้เกียรติมากล่าวต้อนรับในฐานะเจ้าบ้าน “เป็นทราบกันดีว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ หน่วยงานแรกที่ใกล้ชิดประชาชน การพัฒนาท้องถิ่นจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะเท่ากับจะได้พัฒนาทั้งประเทศไปพร้อมกันดังนั้น เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่กลไกพัฒนาพื้นที่ เพื่อสร้างความเจริญ และลดความเหลื่อมล้ำโดยมีเป้าหมายในการสร้างบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นนักพัฒนาเมืองระดับสูงให้มีความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาเมืองในนามของจังหวัดนครสวรรค์ กระผมมีความยินดียิ่ง โดยขอต้อนรับ คณะวิทยากร และคณะนักศึกษาหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง พมส.รุ่นที่ 2 ทุกท่าน”

            และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวเปิด “กิจการพัฒนาเมือง: สู่เมืองชาญฉลาดน่าอยู่อย่างยั่งยืน” อันมีใจความสังเขปดังนี้ “เจตนารมณ์ของการเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ บพท. กับการพัฒนาท้องถิ่นและกลไกฐานรากของประเทศไทย รวมถึงได้ระบุถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่กำลังจะกลายเป็น “กลไกการเติบโตใหม่” ให้กับประเทศไทย ผ่านการขับเคลื่อนด้วยหลักสูตร พมส. พร้อมเล่าถึงที่มาของ หลักสูตร พมส.มีความสำคัญอย่างไร “จริงแล้ว คือกระบวนการมากกว่าเพราะที่ผ่านมา เริ่มต้นในการพัฒนาเชิงพื้นที่แบ่งออกได้2 กลไกหลักๆ คือกลไกส่วนกลาง การวางแผนของส่วนกลางก็ดี วันนี้ท้องถิ่นเราค่อนข้างจะเห็นเป็นประจักษ์อยู่แล้วว่า กรอบที่เราร่วมกันกระจายอำนาจมันมีข้อติดขัด เราเลยมาตั้งคำถามว่า “อีก5ปี นครสวรรค์จะเป็นอย่างไร” ถ้าเราตอบได้ชัดๆ ในฐนะผู้บริหาร จะทำองค์กรหลัก แต่รู้แน่ชัดว่า 90% จะมีการเลือกตั้ง จะยุบสภาเกิดขึ้น แต่สิ่งที่แน่ชัดกว่านี้อีกเราค้นพบว่ากลไกของการบริหารในระดับท้องที่ มักจะมีข้อจำกัด สิ่งเหล่านี้เราค้นพบว่าในระดับพื้นที่ เรารู้ดีว่ามีอย่างจำกัดในฐานะเราเป็นนักวิชาการ เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ เราควรมองไปข้างหน้า อันนี้เป็นหลักสูตร พมส.สอน และเราจะมองไปข้างหน้าอย่างไรเพื่อทำให้ท้องถิ่นของเราเติบโตไปได้ ถ้าจะลุยต่อ สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจของเราคือเราต้องทำให้ภาคประชาชนมีความยินดีกับการทำหน้าที่ ดั้งนั้นแล้วศักยภาพในการบริการประชาชน รวมถึงการเป็นตัวแทนของประชาชนใช้ภาษีของประชาชนในการดูแลประชาชน วันนี้หลักสูตรพมส.ชวนตั้งคำถามในฐานนะนักวิจัย คือผู้ที่ทำสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ รู้จักการถามการฟัง จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ รู้จักกระบวนการหลายๆกระบวนการอย่างมีหลักการ ถ้าท่านมีงบประมาณจำกัด ท่านจะทำอะไรบ้าง? ดังนั้น แผนจึงไม่ใช่เครื่องมือในการแบ่งงบประมาณอย่างเดียว เพราะมีโอกาสในการใช้จัดการโครงการต่างๆ เงินกู้สามารถทำได้มั้ย เทศบัญญัติที่มีอยู่ท่านคือจะทำอย่างไร ฯลฯ” ดังนั้นแล้ว เทศบาลเราต้องทำการพัฒนาด้วย แม้เราจะถูกออกแบบมาเพื่อการบริหารท้องถิ่นก็แล้วแต่ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญ อย่างมากซึ่งประชาชนคาดหวังคือ กลไกการพัฒนา แต่สิ่งที่เผชิญอยู่คือการที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอ ดังนั้นเราควรรับผิดชอบ แม้จะมีข้อกำจัดอยู่ แต่หลักสูตรพมส.จะมาชวนคิดชวนทำ ถ้ามันไม่ได้ใช้งบประมาณ ทุนไม่ได้แปลว่า เงินอย่างเดียว ทุนแปลว่าเพื่อน ความรู้ ได้อีกด้วย ถ้าหากผ่านกระบวนการนี้ ท่านจะเห็นอะไรที่จับต้องได้ จะรู้ว่ากระบวนการปกติมันมีข้อจำกัดอะไร ถ้าผ่านกระบวนการคิดนี้ไปอย่างถูกต้อง จะเห็นกระบวนการอื่น และถ้าสามารถลงมือทำจริงได้จะเห็นถึงระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวได้

            รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวเสริมว่า ทำไมจึงเรียกว่า พมส. เพราะเราพัฒนาไม่ยึดติดภาพ เราไม่ได้จำกัดใคร เรามาใช้ความรู้ ร่วมมือ ใช้ข้อมูลสนับสนุน โดยโครงการยกระดับประเทศอันเกิดขึ้นเพื่อให้เทศบาลแต่ละแห่งในประเทศอยากจะทำอะไรหรือจะทำเพื่อหาคำตอบของสิ่งนั้น และสิ่งนี้สิ่งนี้เราเรียกว่า sandbox เพราะการทำวิจัยเป็นโอกาสที่ทำให้เราลงมือทำได้เป็นการตอบในสิ่งที่เราไม่รู้ได้ พมส.ร่วมลงมือทำวิจัย เพราะวิจัยอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคน วิจัยเป็นเรื่องของทุกคนค้นหาคำตอบ แก้ไขโจทย์ในพื้นที่ของเราซึ่งโจทย์อยู่ในวิถีชีวิต ดังนั้นหลักสูตร พมส. จึงเป็นการชวนทุกคนมาทำวิจัยเพื่อแก้โจทย์ในพื้นที่ของแต่ละแห่ง ซึ่งโจทย์ในแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างกันไป เช่นการลดปริมาณขยะ การลดจำนวนการใช้กระดาษเอกสารในออฟฟิศเราก็มีงานวิจัยที่เป็นสิ่งใหม่ๆให้ท่านนำกลับไปแก้ไขหรือหากท่านสนใจเราก็มีเครือข่ายที่พร้อมจะสนนการทำงานขับเคลื่อนของพวกท่าน โดยบทบาทของพวกเรา บพท. จะเป็นในลักษณะการสนับสนุนให้พวกท่านขับเคลื่อนได้ด้วยข้อมูล ความรู้ และในนโยบายการพัฒนาประเทศให้เราหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต้องขับเคลื่อนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ดังนั้นกระทรวงอุดมศึกษาฯ ทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนการทำงานของพสกท่าน เพราะเราถือเป็นเครือข่ายและระบบสนับสนุนในการบริหารการพัฒนาเมืองหรือพื้นที่ของท่านมีข้อมูลมีความรู้มีเครือข่ายและความร่วมมือระดับประเทศนี่คือหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูงเราต้องมองภาพในอนาคตด้วยว่าเราจะรับมือและจัดการอย่างไร

            โดยข้อแตกต่างของเรากับหลักสูตรอื่น คือ เราชวนท่านให้ลงมือทำตามโจทย์ของแต่ละพื้นที่ บนฐานข้อมูล ความรู้ และปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล อย่างกรณีการแพร่ระบาดโควิดทำให้เราหลายคนเริ่มที่จะไม่พกเงินสด ดังนั้นรอบปฏิเสธไม่ได้ในส่วนของเทคโนโลยีดิจิตอล เราจึงต้องกลับไปดูว่าเราจะนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับปรุงพัฒนาระบบบริการของเราได้อย่างไร ซึ่งเมื่อเรารู้แล้วเราต้องมาคิดต่อว่าเราจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานของเราให้ดียิ่งขึ้นๆไปอย่างการใช้ระบบข้อมูล และนี่ถือเป็นโจทย์ทั้งหมดที่เราต้องคิดและแก้ไข ประสานกับเราต้องกลับไปดูในพื้นที่ของเราว่าเรามีทุนอะไรอย่างบางที่มีทุนด้านวัฒนธรรมประวัติศาสตร์เพราะเราสามารถนำทุนเหล่านี้มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่หรือท้องถิ่นของเราได้ และพวกเรามีระบบสนับสนุนให้กับพวกท่านที่สนใจในการจะพัฒนาเมืองและนี่คือหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูงภายใต้โครงการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยข้อมูลความรู้และความร่วมมือแล้วเมื่อท่านแสดงเจตนาถึงความร่วมมือเราก็ประสานองคาพยพของเราเพื่อมาสนับสนุนในการทำงานของท่าน ท้ายนี้สิ่งสำคัญที่พวกเราขับเคลื่อนร่วมกันคือขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลความรู้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

            จากนั้นเป็นการให้ความรู้ เรื่อง ยุทธศาสตร์จีนใหม่ ไทยจะรับมืออย่างไร โดย พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ต่อด้วย เรื่อง  “วิธีคิดใหม่ โอกาสใหม่ ในโลกผันผวน” โดย ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) อันมีสาระดังนี้ “ความเป็นเมืองมาจากสาเหตุพฤติกรรมที่รวมตัวกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการหาอาหาร ทำให้เกิดการปกครองที่มีการเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยสิ่งเหล่านี้มีพัฒนาการที่เกิดขึ้นมากว่า 200 ปี และในอนาคต 2% จะเป็นเมือง และอีก 58% คือคนที่อยู่ในเมือง และในปี 2050 จำนวนคนจะเป็น 2 ใน 3 ของเมืองถือเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยปัญหาหลัก 70% คือด้านขยะมูลฝอย ที่เกิดจากการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัดหนาแน่น ต่อมาคือเมืองที่มีปัญหาในการใช้พลังงาน ๆ ที่ใช้เป็นพลังงานไม่สะอาดและไม่มีการหมุนเวียน โดยในสภาพอากาศมีทั้งคาร์บอน มีเทน และไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งจะตามมาด้วยการสูญเสียทางชีวิตทรัพย์สินเศรษฐกิจสังคมภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากการจราจรที่ติดขัด

            ปัญหาเหล่านี้จึงเกิดคำถาม ที่ว่าทำไมจึงต้องมีเมืองที่ชาญฉลาด smart city เมืองฉลาด (น่าอยู่) มีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จากกรณีศึกษา นครดูไบ 1 ใน 5 เมืองที่ดี สิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีเห็นความหมายแทบไม่ต่างกัน คือการใช้เทคโนโลยีทำงานอยู่เบื้องหลังช่วยลดมลภาวะทางอากาศขยะส่งผลให้เมืองน่าอยู่ สร้างให้เกิดสุขภาพที่ดี การใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากขึ้น

            การสร้างเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องตัดสินใจ หรือการให้อำนาจในการสร้างเมือง urban lab

ประการ 1 คือการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีจนเกินไป india kakinda

ประการ 2 ลงทุนโดยไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริง

โดย 2 ประการแรกนี้แสดงถึงว่าการมีเงินอย่างเดียวไม่สามารถทำให้มีมิติได้ abudabi masdad

ประการที่ 3 เมืองอยู่ได้แต่ไม่น่าอยู่ songdo masdar

ประการที่ 4 เหมาะกับผู้ชราเป็นส่วนใหญ่ singapore

ประการ 5 ไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง sanfrancisco usa

ประการที่ 6 การสื่อสารกับผู้อยู่อาศัย toronto canada

ทั้ง 6 ประการนี้เป็นตัวอย่างของเมืองที่ลงทุนอย่างมหาศาลในการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นแต่พบกับความล้มเหลว

            นโยบายประเทศไทย 4.0 digital การขยายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ กลไกการสร้างเมืองของประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนเพื่อเข้าร่วมเขตส่งเสริมมาจากองค์ประกอบดังนี้

1 วิสัยทัศน์

2 โครงสร้างพื้นฐาน 

3 แนวการจัดการ 

4 การบูรณาการข้อมูลโดยทั้งหมด

โดย 3 หลักการสำคัญในการให้เมืองในอนาคตเป็นเมืองชาญฉลาด 

หลักที่ 1 เมืองฉลาดให้สุขภาวะกับคนหาใช่เทคโนโลยีไม่ กล่าวคือไม่ได้ใช้เทคโนโลยีความใหม่ความล้ำสมัยแต่เป็นการทำให้สุขภาวะของคนเกิดขึ้น

หลักที่ 2 เมืองอนาคตใช้ประโยชน์จากการทำงาน เอกชนประชาชนต้องร่วมมือกัน public people partnership

หลักที่ 3 เมืองอนาคตขับเคลื่อนด้วยข้อมูลกล่าวคือเราจะไม่ขับเคลื่อนด้วยความเชื่อ,ความเคยชิน,การตัดสินใจด้วยคน ๆ เดียว

มนุษย์ควรใช้ข้อมูลให้มากขึ้นตัดสินใจด้วยเหตุด้วยผล

และ 3 เทรนในการขับเคลื่อนสู่เมืองชาญฉลาด  คือ การเดินทาง “เมือง 15 นาที” คือเมืองเล็ก ซึ่งดีกว่า สามารถเดินไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นกว่าหากใช้เทคโนโลยีในการตัวกรองคัดเลือกเข้ามา “การใช้บริการผ่านapplication” คือการให้บริการที่สร้างความสุขสบายใจอย่างประกันสุขภาพ การส่งลูกเข้าโรงเรียน การทำงานการศึกษา ยกตัวอย่างที่ประเทศไทยมี คือนครศรีธรรมราชที่มี application นครศรีธรรมราช

            จากนั้นเป็นกล่าวสรุป smart city

  1. ใช้สุขภาวะของผู้อยู่อาศัยเป็นเป้าหมายในการพัฒนาไม่ใช่เทคโนโลยี
  2. ใช้เทคโนโลยีแก้ไขปัญหาเพื่อประหยัดเวลาและเงินทุน
  3. คิดถึงคุณค่าไม่ใช่แค่ประสิทธิภาพอย่างเดียว
  4. ใช้ข้อมูลในการออกแบบ
  5. คิดใหญ่แต่ค่อยๆทำอย่างสม่ำเสมอ

            ดังนั้นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาเมือง ต้องมีเรื่องกายภาพให้เราแบ่งส่วน แบ่งหน้าที่กัน

            ต่อเนื่องด้วย ยุทธศาสตร์จีนใหม่ ไทยจะรับมืออย่างไร โดย พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้มีการถอดบทเรียน “ยุทธศาสตร์จีน แนวทางการผงาดขึ้นมาในศตวรรษใหม่” มาสร้างการเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร พมส.2 เกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนา และเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความหมายที่แตกต่างกันเลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องถอดรหัสจีน ในเรื่องของกลไกการพัฒนาท้องถิ่น พลังศาสตร์จีนเกิดจากท้องถิ่นอย่างมหาศาล กลไกการพัฒนาที่จะผลักดันความคิดเราออกมา ในแวดวงวิชาการ ความเข้าใจที่แตกต่างกันยังคงมีอยู่ จีนสามารถจรรโลงแนวคิด จรรโลงยุทธศาสตร์มาสม่ำเสมอมาก เชื่อว่าหลักสำคัญยุทธศาสตร์จีน 24 ตัวอักษรเกิดก่อนขงจื๊อ แต่ขงจื๊อเป็นผู้รวบรวมและทุกรัฐบาลก็จะเขียนเป็นคัมภีร์เพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อแนวคิดข้าราชการซึ่งความหมายแปลได้ว่า 1.สำเร็จด้วยความสุข 2.ตั้งหลักให้มั่นคง 3.เตรียมพร้อมเพื่อตอบโต้ 4.ซุ่มเงียบรอโอกาส 5.ไม่นำหน้าเด็ดขาด 6.แสดงบทบาทเมื่อจำเป็น ดังนั้นแล้วจีนเลยเริ่มขยับเปลี่ยนจาก ยุทธวิธีซ่อนคมในฝัก สู่การแสดงบทบาทของประเทศใหญ่ “จีนไม่หวือหวา แต่จีนสามารถสร้างอะไรก็ได้ที่เราไม่สามารถสร้างได้”

            พัฒนาการทฤษฎีจีน 3 ทฤษฎีและ 3 ผู้ยิ่งใหญ่ 1. ปฏิวัติประชาชนประชาธิปไตย 2.ปฏิวัติประชาชนประชาธิปไตยแผนใหม่สู่การสถาปนารัฐสงัคมเหมา 3. ปฏิรูปเปิดประเทศเพื่อบรรลุสังคมนิยมที่ทันสมัย ภาควิสัยทัศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศ เจียงเจ๋อหมิน ความคิดสามตัวแทน หู จิ่นเทา วิสัยทัศน์การพัฒนาเชิงวิทยาศาสตร์ สี จิ้นผิง ความฝันของจีนแนวคิดใหม่ในการพัฒนา 5 ประการ ได้แก่ นวัตกรรม สีเขียว ความสมดุล การเปิดเสรี การร่วมแบ่งปัน ความคิด ระบบประชาธิปไตย แนวคิดต่างๆประเทศไทยล้วนนำเข้าทั้งสิ้น“ทิ้งท้าย ถ้าเราไม่เข้มแข็ง ต่อให้ไม่ใช่ภาคตะวันตก ถ้าเราอ่อนแอเราก็ตกเป็นเบี้ยล่าง” -เติ้งเสี่ยวผิง-

            ด้าน นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ ยังได้เมาเล่าถึงพัฒนาการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองนครสวรรค์ ว่า “ท้องถิ่น” ถือเป็นหัวใจหลักและแนวคิดการให้บริการการพัฒนาวิถีใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ให้เกิดขึ้น รวมไปถึงกรอบวิจัยเมืองน่าอยู่เกิดขึ้นเพื่อใช้ทักษะในการใช้ข้อมูล ควบคู่กับองค์ความรู้เพื่อปลดล็อคสิ่งที่ติดขัดหรือเผชิญอยู่ และเงินรายได้กลไกใหม่ที่ได้จากการลงทุน คือกลไกใหม่ที่ได้จากการวิจัย สำหรับเทศบาลนครสวรรค์ เวลาทำหนังสือราชการ จะใช้ระบบดิจิทัล ซึ่งเหมาะเป็นการเรียนรู้สมัยใหม่ และสนับสนุนชุดข้อมูลในการพัฒนาเมืองของเทศบาลนครสวรรค์ เป็นระบบดิจิทัล พร้อมเสนอแนวคิดถึงความสำคัญของ world bank ต่อเศษฐกิจ รวมถึงงานวิจัยและโครงการต่างๆ เพื่อการพัฒนาของจังหวัดให้ไปในทางที่ดีขึ้นในอนาคต เช่น การเปลี่ยนอาคารและตึกให้เป็นอาคารเขียน (Clean building) 

            ในงานนี้ อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด และ CEO บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ได้ตอกย้ำให้เห็นอีกว่า เมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ (Smart & Livable City) มุ่งสู่การกระจายศูนย์กลางความเจริญ และลดความเหลื่อมล่ำ ต้องเดินในทิศทางไหน โดยเล่าว่า “ขอนแก่นโมเดลใช้กลไกใหม่ที่เกิดขึ้นผนวกกับ พรบ.เทศบาล 2496 และสิ่งที่เรายึดเป็นแนวในการทำ ก็คือ clear care fair share  โดยต้นกำเนิดของขอนแก่นโมเดลมาจาก multidisciplinary  ที่มีทั้งตลาดหุ้น การเมือง ในการดำเนินการ อะไรคืออุดมการณ์ของพวกเรา อะไรคือความเชื่อของพวกเรา เราต้องการเพื่อที่จะสร้างการลงทุนในภูมิภาคแต่ติดกับตรงที่งบประมาณไม่พอ ชนเพดาน  จึงมีการใช้ Jneanes model ที่ประกอบไปด้วย  human product money information  ทางด้านขอนแก่นเรามีสิ่งที่ประกอบไปด้วยในการพัฒนา คือ  local government , company and private company บนหลักการ การพัฒนาจังหวัด  โดยเราต้องเข้าใจด้วยว่า “ความเจริญไม่ใช่การขยาย” 

            ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะนักวิจัยในโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ (Enriching Local Development with a Knowledge Enhancement and the National Collaboration) โดยมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 เล่าว่า “เอกชน คือ ประชาชน เราก็เป็นประชาชน ไม่ได้เป็นแค่ส่วนผสม แต่ต้องมีบทบาทในการจัดการสังคม เลยเป็นที่มาของ การจัดการแบบพหุภาคี เพราะรัฐไม่ใช่ตัวแสดงเอง เลยเป็นแรงขับทางมิติของสังคมที่ยังไงก็ต้องทำให้เปลี่ยน ซึ่งใช้หลักการ Paint point เข้ามา คือเปลี่ยนฐานแนวคิด และสมรรถณะให้เป็น service และ city developer เพิ่มขีดความสามารถของเทศบาลด้วยการเชื่อมโยง เทคโนโลยี นวัตกรรม การพัฒนาเมืองเพื่อแก้ paint point รวมไปถึงเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ และยังมีตัวบทปฏิบัติที่สำคัญหรือเป็นกลไก 1.เพื่อพัฒนาระบบกลไกการนำเข้าข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่า 2.เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน 3.ปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม 4.พัฒนารายได้ใหม่และกลไกการเงินใหม่ เพราะการหาหนทางเพื่อทำให้สำเร็จ ต้องหาแหล่งทุนใหม่ ตัวเทศบาลมีเครื่องมือในการหารายได้ และการจัดการการเงินเยอะมาก แต่ไม่เคยถูกนำออกมาใช้ มีการบัญชีที่เข้าระบบ มีบริษัทจำกัดในพรบ.2491 ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวที่ขอนแก่น ในรูปแบบของเงินกู้ ธนคารของรัฐ ธนบัตรของรัฐ เลยต้องมี world bank เข้ามาช่วย สมมติว่าท้องถิ่นต้องไปกู้กับข้างนอก ไม่ใช่ให้รัฐบาลกลางไปกู้ จะต้องทำยังไง world bank เลยจะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ สิ่งที่ world bank พบในแต่ละแห่ง เทศบาลไม่เคยทำความเชื่อมั่นในการเงิน ของ ku เวลาเอกชนมากู้จะมีเครดิตของตัวเอง สร้างเครดิตเพื่อตัวเอง หลักสูตร world bank จะเป็นระบบเน้นการให้ทำ เน้นการเติมเต็มความรู้ เลยเป็นที่มาของการเรียนรู้ที่เร็ว เริ่มต้นการเขียน proposal รวมทั้งมีเงินก้อนเล็กๆให้เทศบาลแห่งนั้นลงมือปฏิบัติการ ในขณะลงมือปฏิบัติการ จะมีนักวิชาการเทคโนโลยี วิชาการด้านการเขียน ฯลฯ คอยช่วยเหลือในระยะ 6 เดือน 

            และปิดท้ายด้วยการเล่าวิสัยทัศน์ผู้นำ โดย นางสาวศริณญา โทรักษา นายกเทศมนตรีตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ และ นายกฤษณะ วิสุทธิ์เศรษฐ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ จังหวัดนครสวรรค ให้กับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นและภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศที่เข้าร่วมทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์  

ต่อเนื่องกิจกรรมในวันที่ 2 มีนาคม 2566

            เริ่มต้นด้วยการบรรยาย เรื่อง “บริษัทวิสาหกิจของเทศบาล” โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

            ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ เริ่มต้นด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงวิวัฒนาการ แนวคิดหลักรัฐประศาสนศาสตร์ ให้ผู้เข้ารับการอบรม อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “ยุคโครงสร้างนั้น จะเป็นการแบ่งลำดับชั้น เกณฑ์กำลัง กฎระเบียบ ถัดจากยุคแรก ก็คงหนีไม่พ้นยุคต้มยำกุ้ง ยุคนั้นจะเป็นการใช้แนวธุรกิจในการบริหารงานของรัฐ ซึ่งหลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้เกิด kpi และรัฐบาลยุคนั้นมีแนวคิดแบบผู้ประกอบการและที่สำคัญยุคนี้เน้นผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง ต่อมายุคปัจจุบัน จะเป็นรูปแบบของการจัดการการปกครอง/เน้นการให้บริการ เน้นตรรกะทางธุรกิจ การจัดการบริการ/ร่วมผลิตเพื่อให้อยู่ได้ในสังคม และ“ภาครัฐจะไปต่อได้ต้องใช้ระบบพหุภาคี เพราะเวลาทำงานต้องทำงานกับทุกคน”

            โดย รัฐเป็นหนึ่งในภาคี มีส่วนรับผิดชอบด้วยกันไม่ว่าจะทางสังคม การเงิน รวมถึงทางกฎหมายในมุมมองของการบริหารท้องถิ่น Concept องค์กรจะสำเร็จต้องไม่แบ่งลำดับชั้น ยังมีการนิยามถึง Collaborative governance คือ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่หน่วยงาน ก.พ.ร. ยังส่งเสริมและสนับสนุน เป็นการเน้นความร่วมมือของรัฐ เอกชน และประชาชน โดยมีการยกเอาสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ ซึ่งประกอบไปด้วย Trust TimeTurf มาเป็นทิศทางของบูรณาการการทำงาน การร่วมมือกันทำได้ 2  แบบ แต่ทำเฉพาะเราไม่ได้ต้องมีผู้ถือหุ้น แต่ถ้าหากว่ามีผู้ถือหุ้นกิจการนั้นทำได้เพียงแค่การค้าแต่หากว่า ในส่วนของเขต อบต.ถือหุ้นด้วยจะได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นี่คือข้อแตกต่าง ในการก่อตั้งหรือการเข้าถึงในบริษัทจำกัด มีการเกิดขึ้นแล้วในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ชื่อว่า ขอนแก่นทรานซิสเตม จำกัด เป็นระบบสหการที่จัดตั้งในประเทศไทย เป็นการจดทะเบียนจัดตั้งร่วมกับเทศบาล 5 แห่ง ดังนั้นแล้ว การมี concept การตั้งวัตถุประสงค์ รวมทั้งกลไกในการจัดการการเมืองใหม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในครั้งนี้”

            ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เล่าว่า “การทำงาน ผลสำเร็จจะเน้นพลังของความร่วมมือ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภายในและระหว่างประเทศ เพราะการเน้นการร่วมมือส่งผลให้เกิดการจับมือระหว่าง 5 เทศบาลขึ้น และที่สำคัญการมีพันธกิจ มิชชั่นร่วมกัน ทำให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน และถ้าหากว่าเราไม่มุ่งหวังผลกำไรแต่สามารถให้บริการสาธารณะได้โดยไม่เดือดร้อนตนเองแต่เน้นการช่วยเหลือเป็นหลัก และที่สำคัญไม่ติดกับดัก ในคำว่า ไม่มีเงินเราจะทำสิ่งนั้นไม่ได้ ดังนั้นในเรื่องของการขับเคลื่อนจัดการทุนเป็นการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการทำร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน การลงทุนในพื้นที่ยังส่งผลให้ลดความเหลื่อมล้ำได้ สร้างให้เมืองต่างๆเป็นเมืองสร้างงานสร้างอาชีพ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ สิ่งนั้นคือ การลงทุนร่วมกัน และยังมีการพูดถึง smart city การทำงาน การทำวิจัยร่วมกัน พร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี การทดลองใช้ การปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ให้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งมีระบบ digital transformation และระบบข้อมูล เปลี่ยนจาก docs เป็นwork flow เปลี่ยนจาก work flow เป็นระบบ digital และยังมีระบบภายในภายนอกที่ยังเป็นเกณฑ์สำคัญ เพราะถือว่าเป็นระบบการปฏิรูปราชการ digital เป็นส่วนสำคัญของประเทศ การพูดถึงเศรษฐกิจสีเขียว เน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับ low carbon ที่โลกกำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้ การปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 

            จากนั้นเป็นการบรรยาย เรื่อง Smart City สร้างโอกาสให้ทุกคน โดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “ถ้าพูดถึงกลวิธีลดความเหลื่อมล้ำ ในต่างประเทศ เชื่อว่าการใช้ smart city ลดความเหลื่อมล้ำได้ ซึ่งคำจำกัดความของ smart city คือเน้นการมีส่วนร่วม เอาคนเป็นที่ตั้งไม่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง ถ้าถามว่าทำไมถึงเลือกทำ smart city เหตุเพราะมาจาก Thailand 4.0 เพราะการเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่า และแก้ปัญหารายย่อยในระดับพื้นที่ก่อน และในเมืองนั้น มักพบได้ทั้งโอกาสและปัญหา แต่เรายังพอมองออกว่าเราจะมองตัวเรายังไง ถ้าเมืองของเรา เราต้องมองให้ออกว่าเราจะมองเมืองไปทางไหน และทุกเมืองจะน่าอยู่ได้ ถ้าเราเลือกใช้เทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด เพราะเทคโนโลยีจะสามารถตอบโจทย์เราได้อย่างดี และยังจะช่วยเราในเรื่องของโอกาสทางการศึกษา แหล่งลงทุน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีแผน smart city โดยเริ่มจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี แผนภายใต้ยุทธศาสตร์ ปฏิรูปประเทศ พัฒนาเเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย การจะเป็นเมืองน่าอยู่และสร้างรายได้ ไม่ได้ถือว่าเอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง แต่เป็นการเอาเมืองเป็นตัวตั้งนั่นเอง”

           สำหรับการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ (Enriching Local Development with a Knowledge Enhancement and the National Collaboration) โดยมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีปฎิบัติการบนฐานของการวิจัย 4 ฐาน คือ 1) การเปลี่ยนองค์กรด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) 2) การพัฒนาตัวแบบเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) 3) การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Economy) และ 4) การพัฒนารายได้ และกลไกการเงินสำหรับพัฒนาท้องถิ่น (Financial Mechanism & Special Purpose Vehicle) 

            การพัฒนาผู้บริหารท้องถิ่นด้วยหลักสูตรนี้ รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า  หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) (City Development Executive Program : CDE) ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและยกระดับสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยให้มีขีดความสามารถทางการคลัง การจัดการ และการพัฒนานวัตกรรมร่วมสมัยที่เกิดขึ้นมาจากปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยและกลไกความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน “เชิญชวนนายกเทศมนตรีมาทำงานวิจัยกัน” โดยคนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะได้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะ ปรับสมรรถนะ เรียนรู้องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเมืองรูปแบบต่าง ๆ ตามรายละเอียดของหลักสูตร  พร้อมกับมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองบนฐานงานวิจัยในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย  

            ในการขับเคลื่อนหลักสูตร พมส. นี้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า “การขับเคลื่อนกระบวนเรียนรู้ (Active Learning) ผ่านการลงมือปฎิบัติการเพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่บนฐานของงานวิจัยที่ใช้ข้อมูลความรู้ และเทคโนโลยี พร้อม ๆ กับการพัฒนาแบบเคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และประชาสังคม”  พมส. จึงถือเป็นแพลตฟอร์มความรู้ และความร่วมมือในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น ปรับผู้บริหารสู่นักพัฒนามืออาชีพที่ใช้งานวิจัยเป็นฐานและผสานความร่วมจากทุกภาคส่วน  ดังนั้น หลักสูตรนี้ จึงพิจารณาผู้เข้าร่วมปฎิบัติการเพื่อพัฒนาบนฐานของงานวิจัยรุ่นละประมาณ 70ทีมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันผนึกกำลังทางความคิดและร่วมลงมือทำ เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสุ่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยังยืนต่อไป