หลักสูตร พมส. ลงพื้นที่จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตร พมส. รุ่นที่ 2

หลักสูตร พมส. ลงพื้นที่จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 City Development Executive Program (CDE) ปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย รุ่นที่ 2

 วันที่ 31 มกราคม 2566 ณ เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก บพท. ลงพื้นที่จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตร พมส. รุ่นที่ 2  ให้กับผู้เข้าอบรม “โครงการพัฒนาศักยภาพบคุลากรด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและมั่นคง หลักสูตรด้านการอบรม-ศึกษาดูงานการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่การจัดระเบียบการจอดรถ และการจัดระเบียบร้านค้าบนพื้นที่สาธารณะในเขต อปท.พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจร และการดูแลความปลอดภัยในเมืองท่องเที่ยว จากเทศบาลตำบลรัษฎา” เพื่อเชิญชวนผู้สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรดังกล่าว พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจว่า หลักสูตรเน้นการยกระดับนักบริหารสู่นักพัฒนาระดมผู้กล้ามาพัฒนาเมืองตนเอง พร้อมช่วยค้นหาทิศทางและโอกาสในการสร้างสรรค์โครงการเศรษฐกิจใหม่ให้กับเมือง และมีการฝึกอบรมผ่านการลงมือดำเนินการจริง พร้อมให้ทุนสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดโครงการ ในแต่ละช่วงสำหรับทุกทีมของหลักสูตร ในโอกาสมาเยือน จังหวังหวัดขอนแก่นเพื่อศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โครงการขอนแก่นพัฒนาเมือง ณ เทศบาลนครขอนแก่น อนึ่ง  รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในฐานะผู้บริหารซึ่งมีภารกิจให้นโยบาย และตรึงเป้างานวิจัยภายใต้การรับทุนจาก บพท. นอกจากจะได้ร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะศึกษาดูงาน ซึ่งนำโดย นายนครินทร์ ยอแสงรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลรัษฎา พร้อมด้วยฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภา และฝ่ายข้าราชการประจำของเทศบาลตำบลรัษฎา จำนวน 28 คน แล้ว ยังได้ให้เกียรติร่วมพูดถึงหลักสูตร พมส. รุ่นที่ 2  ด้วย

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมหลักสูตร
*เป็นผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
*การอบรมมีลักษณะเป็นทีม 3-4 ท่าน นำทีมโดยนายกเทศมนตรี (ซึ่งในทีมอาจจะประกอบไปด้วย นายกฯ ปลัดฯ ผอ.กองฯ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ)
*สามรถจัดสรรเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด
*ผ่านการคัดเลือกจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

เปิดรับสมัครของตนเองรุ่นที่ 2
ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 31 มกราคม 2566
ท่านใดที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนขั้นต้นเพื่อพิจารณาคัดเลือกผ่านลิงค์ : https://forms.gle/tQMKehtAh4MbfEbSA
หรือติดต่อสอบถามได้ที่
คุณภัทรพล ขวัญสุด
โทร 093-7686438
Email phattarapon.new@gmail.com

          สำหรับการศึกษาดูงาน ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ การจะระเบียบการจอดรถและการจัดระเบียบร้านค้าบนพื้นที่สาธารณะในเขต อปท. พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรและการดูแลความปลอดภัยในเมืองท่องเที่ยว” ในช่วงเช้าก่อนที่จะเริ่มฟังการบรรยายทางทีมคณะศึกษาดูงานได้เยี่ยมชมการจัดระเบียบร้านค้าในเขตเทศบาลนครขอนแก่น พร้อมกับได้มีการฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “โครงการขอนแก่นพัฒนาเมือง” ณ ห้องประชุมเป็งจาล เทศบาลนครขอนแก่น

          การบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “โครงการขอนแก่นพัฒนาเมือง” ในครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาเมืองมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนและสะท้อนมุมมองจากหลากหลายภาคส่วน โดยมุ่งเน้นให้เห็นเห็นถึงการสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมขององคาพยพในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ อย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาหรือแม้แต่ภาคประชาชน ซึ่งวิทยากรที่มาบรรยายร่วมแลกเปลี่ยนในวันนี้มีหลายภาคส่วนอย่าง รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ  คุณธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง  คุณชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น  คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล MITR PHOL Innovation & Research Center  คุณมนตรี สิงหปุณณภัทร รองนายกเทศมนตรีขอนแก่น คุณเทพวรรณ์ เตียมไธสง รองประธานฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น  ผศ.ดร.หริส  ประสารฉ่ำ  รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  จ.อ.นิตินัย แก้ววิเศษ นักจัดการงานเทศกิจ

          ในตอนต้นทางด้านจ่าสิบเอกนวพล คำจันทร์ เจ้าพนักงานเทศกิจชำนาญงานเทศบาลตำบลรัษฎา กล่าวถึงเหตุที่มาในการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้นั้นด้วยความที่เทศบาลตำบลรัษฎาอยู่ใกล้เคียงกับเทศบาลนครภูเก็ตและด้วยขนาดประชากร รถ การคมนาคมขนส่ง ระบบเศรษฐกิจ มีความใกล้เคียงกับขนาดของเทศบาลนครขอนแก่น จึงเห็นว่าควรมีการศึกษาดูงานตามพื้นที่หัวเมืองใหญ่ ๆ เพื่อจะนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของเทศบาลเอง ทั้งได้มีการพูดถึงวัตถุประสงค์พร้อมกับแนะนำคณะฝ่ายผู้บริหารและบุคลากรที่มาศึกษาดูงาน

          ทางด้านรองศาสตราจารย์ ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญอย่างการกระจายอำนาจและการจัดการความสัมพันธ์ขององคาพยพในการสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่ไม่ได้หมายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเดียว เพราะในพื้นที่ ก็มีทุกองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ ภาคประชาสังคม และนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่จะขับเคลื่อนต่อไปและในการกระจายศูนย์กลางความเจริญไปยังหัวเมืองหรือพื้นที่ต่าง ๆ จะต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า การทำงานร่วมกันของรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม

          ด้านคุณธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง ได้กล่าวถึงความเป็นมาว่ากว่าจะเป็นโครงการขอนแก่น smart city ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนได้เราเริ่มตั้งแต่การออกเงินเองจนไปถึงการขออนุมัติการสนับสนุนโครงการและไปถึงขั้นการเสนอการจัดตั้งบริษัทของเราเองและเราได้จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยในปี พ.ศ. 2560  ไปจนถึงการจัดการที่ได้ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับใช้อย่างการจัดทำ Line Bot ซึ่งแอพพลิเคชั่น Line เป็นแอพพลิเคชั่นที่ทุกคน ทุกกลุ่มช่วงวัยใช้ เราจึงได้จัดทำ Line Bot ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แจ้งเรื่องร้องทุกข์ โดยเราเปิดใช้มาแล้ว 3 ปี กระบวนการคือ เมื่อเราได้รับคำร้องมา เราจะนำคำร้องเหล่านั้นกระจายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และในวันข้างหน้าเราจะมีการนำ  Big Data เข้ามาปรับใช้ในการทำงานให้บริการต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การมีข้อมูลที่เราจะได้รู้จุดพื้นที่ที่มีสิ่งของชำรุดหรือจุดที่ต้องได้รับการบำบัด แก้ไขในการจัดทำสิ่งเหล่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่น สร้างความศรัทธาของประชาชนให้กลับคืนมา

          โดยทางคุณชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ยังได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ในส่วนตัวแทนภาคเอกชนอีกว่า เราจะต้องแสดงจุดยืนในภาคส่วนเศรษฐกิจ ในการเป็นแรงผลักดันในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ภาคเอกชนเราควรต้องมองข้ามจุดที่ต่างฝ่ายต่างจะมาเอารัดเอาเปรียบกัน เพราะปัจจุบันเป็นจำเป็นอย่างมากที่ต้องร่วมมือกัน ใครมีอะไรดีให้นำออกมาช่วยเหลือกัน เมื่อไหร่สิ่งที่เราทำออกมาเห็นผลที่ดี เมื่อนั้นผู้คนมากมายก็จะเริ่มทยอยมาร่วมมือกับเราเช่นกัน

          ทางด้านคุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล MITR PHOL Innovation & Research Center ยังกล่าวว่า การจะพัฒนาประเทศสิ่งสำคัญคือการพัฒนาศักยภาพ อย่างในพื้นที่ภาคอีสานเราจำเป็นต้องสร้างทุนด้านอุตสาหกรรมเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาต่อยอดในส่วนของเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงการใช้ความเก่งของคนอื่นมาทำนั้น เราจะนำความสามารถคนเหล่านั้นมาใช้ได้จำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า “นวัตกรรมแบบเปิด” ซึ่งหากเราสามารถทำอย่างนั้นได้อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ “ความเจริญอย่างยั่งยืน” พร้อมกับนำเสนอแนวคิดที่ทางผู้บริหารมิตรผลให้ความสำคัญอย่างมาก อย่างการทำธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นว่า “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ”

          ต่อมาที่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิด คือ  คุณมนตรี สิงหปุณณภัทร รองนายกเทศมนตรีขอนแก่น ได้กล่าวถึง ความต่างที่ทางภูเก็ตมีแต่ทางขอนแก่นไม่มีอย่างขอนแก่นไม่มีทะเล ไม่มีธรรมชาติหรืออะไรที่โดดเด่นเท่าทางภูเก็ต แต่ขอนแก่นจะมีลักษณะเด่นอยู่ คือ ความมีส่วนร่วมของคนขอนแก่น ในการเดินหน้าเทศบาลนครขอนแก่นเราไม่ใช่พระเอกแต่เราเป็นผู้ประสานงานความร่วมมือขององคาพยพต่าง ๆ ด้วยความร่วมมือของชาวขอนแก่น พร้อมกับแบ่งปันโครงการที่ยั่งยืนและประสบความสำเร็จ 2 โครงการ โครงการแรก คือ โครงการคนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกันซึ่งเรามีแนวคิดว่าเราไม่ต้องการให้ลูกหลานไปทำงานต่างถิ่นห่างไกลจากครอบครัว อยากให้เขาทำงานที่นี่ มีงาน มีเงินที่นี่ จึงส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเสริมสร้างรายได้อย่างภาคอุตสาหกรรมในการทำรถไฟที่จะดึงกลุ่มลงทุนต่าง ๆ ให้มาที่ขอนแก่นอันจะก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่. โครงการที่สอง คือ โครงการเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่เป็นการบริหารจัดการที่ยึดหลักของการกระจายอำนาจเอาอำนาจกระจายไปสู่ชุมชนสู่ภาคประชาชน

          ลำดับถัดมาคุณเทพวรรณ์ เตียมไธสง รองประธานฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวไปในทำนองเดียวกันกับทางประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่นว่า การขับเคลื่อนแผนพัฒนาขอนแก่นนั้นเรามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยอาศัยภาคอุตสาหกรรมอย่างด้านการเกษตรเป็นหลักและด้านค้าขายการท่องเที่ยวรองลงมาซึ่งในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันในหลายภาคส่วนและนี่เป็นลักษณะเด่นของขอนแก่นคือการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

          ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.หริส  ประสารฉ่ำ  รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันการศึกษาที่ต้องผลิตบัณฑิต บริการวิชาการและสร้างงานวิจัยที่จะมาเติมเต็มและสอดรับกับการพัฒนา พร้อมกับสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในการจัดทำรถไฟฟ้าอย่างการผลิตงานอุตสาหกรรมที่จะส่งผลให้ลูกหลานของเราไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่นหรือไกลบ้านย่อมจะส่งผลให้ที่บ้านและครอบครัวนั้นมีความสุขซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเป็น Smart City โดยสมาชิกที่จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เทคโนโลยีแต่สมาชิกที่คือการพัฒนาคนเมื่อใดที่คนมีความสุขก็จะนำมาสู่ความเป็น Smart City และเราได้รับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง คือ ด้าน Smart Mobility

          ท่านสุดท้าย จ.อ.นิตินัย แก้ววิเศษ นักจัดการงานเทศกิจ ได้มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวและสิ่งที่ได้ทำและประสบความสำเร็จในการจัดระเบียบทางเท้า และยังได้กล่าวอีกว่าการที่เราทำสำเร็จเราอาศัยความร่วมมือมากมายหลายภาคส่วนจนทำให้สิ่งที่กระจัดกระจายไม่เข้ารูปได้มาอยู่ในรูปแบบอย่างถูกต้อง วิธีการดำเนินงาน ยกตัวอย่างเช่น การยก ยึด จับ รื้อ เพื่อให้เกิดระเบียบในสังคม ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการนำเสนอภาพเปรียบเทียบในพื้นที่ที่ทำสำเร็จระหว่างก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ

          ทางด้านรองนายกเทศมนตรีขอนแก่น คุณมนตรี สิงหปุณณภัทร ได้เพิ่มเติมอีกว่าสิ่งสำคัญในการจะประสบความสำเร็จได้ คือ กำลังใจที่เราให้กับเหล่าเทศกิจในการทำงานและในการทำงานลักษณะนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารคน ใช้คนให้เหมาะกับงาน แต่สิ่งที่ยากกว่าการบริหารคน คือ การบริหารความรู้สึกของคน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องตระหนักให้มากในการทำงานบนความรู้สึกของคนจึงก่อให้เกิดโครงการที่เรียกว่า “เทศกิจ 360 องศา” คือเราต้องทำให้ทุกคนเห็นเทศกิจแล้วเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เกิดความปลอดภัยสามารถเข้าถึงพูดคุยได้ มีการเยี่ยมเยือนประชาชน มีการเดินเท้าเข้าหาเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงและนี่คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการจัดระเบียบทางเท้าของเทศบาลนครขอนแก่น

          หลังจากฟังบรรยายเสร็จทางผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานเทศบาลตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยวิทยากรได้เข้าศึกษาดูงานต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในประเด็นเกี่ยวกับการผลิตรถไมโครบัสไฟฟ้า 100 % เพื่อลดพลังงาน และโครงการวิจัยระบบรางของคณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์  ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย  ผศ.ดร.หริส  ประสารฉ่ำ  รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา และ ดร.ไพวรรณ  เกิดตรวจ หัวหน้าโครงการวิจัยระบบรางฯ ให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลด้านการวิจัยระบบราง แก่คณะศึกษาดูงาน โดยได้เข้าศึกษาดูงาน ณ อาคารฝึกปฏิบัติการซ่อมบำรุงรถไฟ (DEPOT) โรงจอดและซ่อมบำรุงรถ Tram และ LRT