พมส.รุ่น 1 ศึกษาประสบการณ์ปฏิบัติการ ประเด็น “การจัดการน้ำและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ศึกษาประสบการณ์ปฏิบัติการ ประเด็น “การจัดการน้ำและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาประสบการณ์ปฏิบัติการ ประเด็น “การจัดการน้ำและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร พมส. รุ่น 1 จำนวน 90  คน ณ เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  ในระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม2566

         นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือจึงเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ หรือที่รู้จักกันในนาม “ปากน้ำโพ (Paknampho)” ซึ่งเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ที่ไหลลงมารวมกันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีต นครสวรรค์ เป็นเมืองโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี โดยในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในขณะที่ปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาประเทศบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมปากน้ำโพ จึงถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้รับการฟื้นฟูและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นทั้งในทางการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ของชาวบ้านปากน้ำโพ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนคุณค่าอัตลักษณ์ปากน้ำโพ และเพื่อศึกษาดูงานการสะท้อนคุณค่าอัตลักษณ์ปากน้ำโพ ที่เป็นการเพิ่มมิติคุณค่าทางวัฒนธรรม ที่ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์อย่างยั่งยืน กิจกรรมศึกษาประสบการณ์ปฏิบัติการ ประเด็น “การจัดการน้ำและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้ถูกจัดงานขึ้น ในระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2566 ณ เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และสถานที่สำคัญหลายแห่ง มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น แต่ละแห่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจแตกต่างกัน  

         โดยในส่วนของพิธีเปิดนั้น นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิด อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “ท้องถิ่น คือหน่วยงานแรกที่ใกล้ชิดประชาชน การพัฒนาท้องถิ่นจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพราะเท่ากับจะได้พัฒนาทั้งประเทศไปพร้อมๆกัน ดังนั้นเพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่กลไกพัฒนาพื้นที่ เพื่อสร้างความเจริญ และลดความเหลื่อมล้ำโดยมีเป้าหมายในการสร้างบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นนักพัฒนาเมืองระดับสูง ให้มีความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาเมือง เพื่อให้เมืองสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกยุค VUCA คือ Volatilitby (ความไม่แน่นอน)Uncertainty (ความไม่มั่นใจ) Complexity (ความซับซ้อน) และ Ambiguity (ความคลุมเครือ) ซึ่งสื่อความถึงโลก การทำงานในปัจจุบันที่เราทำอยู่นี้ การทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ VUCA ต้องอาศัยทั้งความรวดเร็ว การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในองค์กรแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นสภาวะที่องค์กรเผชิญอยู่ตลอดเวลา โดยใช้กลไกเชื่อมโยงข้อมูลความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศ ทาง บพท. และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร ของท้องถิ่นให้ก้าวทันการพัฒนา ให้ทันสมัย อัจฉริยะภาพ และดูแลสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆกัน ด้านเทศบาลนครนครสวรรค์ เองก็พร้อมให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ด้วย”

         จากนั้นเป็นชมวิดิทัศน์ และดูพื้นที่จริงด้านการประปาเทศบาลนครนครสวรรค์  การบำบัดน้ำเสียและการนําน้ำที่บำบัดมาทำคลองประดิษฐ์คลองญวนชวนรักษ์ และนวัตกรรมเทศบาลนครนครสวรรค์ “SUPER NODE”

         ต่อด้วยการบรรยายพิเศษ เรื่อง “งานผังเมืองเทศบาลนครนครสวรรค์” โดย นายฐาปนา บุณยประวิตร กรรมการและเลขานุการกฎบัตรแห่งชาติ โดยมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “เทศบาลนครนครสวรรค์ ร่วมกับสมาคมการผังเมืองไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  จัดทำกฎบัตรนครสวรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม นำร่อง 1 ใน 6 แห่ง ทั่วประเทศ  เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดอนาคตทิศทางการพัฒนาเมืองตามความต้องการ ตามข้อเสนอและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่เป็นสมาชิกในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อความเปลี่ยนแปลงอย่างมีทิศทางและยั่งยืน สู่คุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคม โดย กฎบัตรเมือง นี้คือข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน และทุกภาคส่วน ซึ่งมีต้นแบบจากกฎบัตรแวนคูเวอร์และกฎบัตรสิงคโปร์ พร้อมเล่าถึงความสำเร็จของเมืองนครสวรรค์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาพื้นที่ อาทิ พื้นที่โดยรอบ หรือพื้นที่ที่เกี่ยวข้องบริเวณอาคารสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา(พาสาน) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และมีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมืองนครสวรรค์ไปสู่ความยั่งยืนทั้งสิ้น”

         และเวทีพูดคุย ถึง “การพัฒนานครสวรรค์ เมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่” โดยมี นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ ในฐานะที่เป็นผู้ที่ชูกฎบัตรแห่งชาติ เพื่อฟื้นเมืองนครสวรรค์ และผนึกเอกชนร่วมสร้างเมืองสู่ “สมาร์ทซิตี้” ร่วมให้ข้อมูล และ อ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. ให้เกียรติเป็นดำเนินรายการ โดยสาระสำคัญของกิจกรรมนี้คือ “เพื่อเป็นการฟื้นฟูเมือง ได้เข้าไปเรียนรู้งานของกฎบัตรแห่งชาติ ที่เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมของสังคม โดยกระบวนการพัฒนาเมือง ซึ่งนำไปสู่โกลด์ซิตี้และสมาร์ทซิตี้ ต้องสมาร์ททั้งสองฝ่ายคือข้าราชการกับประชาชน จึงได้มีการรวมตัวกันและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่า ตรงกับกลุ่มกฎบัตรโดยมีทั้งหมด 10 ด้าน ทางกฎบัตรแห่งชาติจึงได้ตั้ง flagship ขึ้นมา 3 ภารกิจหลักก่อน ได้แก่ 1.เกษตรและอาหารปลอดภัย หรือ green agriculture and safety food 2.พลังงานสีเขียว หรือ green energy 3.โครงสร้างพื้นฐานเขียว green infrastructure หรือ smart block ซึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการเริ่มทำ smart block โดยการฟื้นเศรษฐกิจของถนนกลุ่มที่คัดเลือกมาประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเป็นถนนทดลองกายภาพแห่งการเดิน โดยกลุ่มนี้จะสมาร์ททุกเรื่อง โดยใช้เกณฑ์ของ LEED ND หรือเกณฑ์ในการพัฒนาเมือง ซึ่งให้ความสำคัญกับรถยนต์เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือให้ความสำคัญกับรถสาธารณะ และสุดท้ายให้ความสำคัญกับคนเดิน แต่ตรงกันข้าม smart block จะให้ความสำคัญกับคนเดินอันดับ 1 เพิ่มทางเท้าปลูกต้นไม้ เพื่อลดความร้อน รองลงมาคือให้ความสำคัญกับรถสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนไม่ใช้รถส่วนตัว ซึ่งเป็นการช่วยลดมลพิษ ซึ่งในส่วนของรถสาธารณะที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ต้องเป็นพลังงานสะอาด และสุดท้ายคือลดขนาดถนน และรถส่วนบุคคลที่จะวิ่งเข้ามาในพื้นที่  ถ้าหากทำสิ่งนี้ได้ผลตามมาคือ 1.การลดใช้พลังงานในการใช้เชื้อเพลิง 2.ลดมลพิษจาก PM 2.5 3.ลดอุณหภูมิของเมือง ซึ่งจากปีที่ผ่าน ๆ มา นครสวรรค์ครองแชมป์เป็นจังหวัดที่อุณหภูมิร้อนที่สุด 41-42 องศา ซึ่งทางนครสวรรค์ได้มีการคัดเลือกถนนโกสีย์ถึงสี่แยกไกรลาศ ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักที่มีเศรษฐกิจตกต่ำมาก จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูเมือง งบประมาณ 1 ล้านบาท ตอนนี้ได้มีการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องทำประชาคม ขอความคิดเห็นจากประชาชนก่อน

         ในส่วนของพลังงานสีเขียว คือ หาพลังงานทดแทนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เช่น โซลาร์เซลล์ กังหันลม พัฒนาในรูปแบบพลังงานสะอาด  พร้อมหันนี้ยังได้มีการผนึกเอกชนชู Smart Farm ด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยมองว่าเกษตรอาหารปลอดภัยของเมืองในเขตเทศบาลไม่มีพื้นที่เกษตรกรรม จึงเข้าไปดูแลและสนับสนุนเรื่องฟาร์มของเกษตรกร เพราะอาหารทั้งหมดต้องส่งมาให้ในเมือง หากไม่มีการพัฒนาเป็นเกษตรปลอดภัยอาหารที่ถูกส่งเข้ามาในเมืองก็เป็นอาหารพิษ 

         ปัจจุบันกลุ่ม smart farm มีอยู่ประมาณ 100 แห่ง ทางนายกเทศมนตรีนครสวรรค์ ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียน และโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ให้รับซื้อสินค้าจากกลุ่ม smart farm  ปัจจุบันมีโรงพยาบาลศรีสวรรค์ ร้านอาหารแรกคือ เล่งหงษ์ และโรงแรม 42 ซี เดอะชิค โฮเทล ได้ซื้ออาหารจาก smart farm ล่าสุดมีกลุ่มประมง กลุ่มเลี้ยงแพะ ผัก ผลไม้ ข้าว สนใจเข้าร่วมเครือข่าย ด้านการตรวจสอบคุณภาพ ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์ มีเกณฑ์การตรวจวัดมาตรฐาน ขณะเดียวกันเราคุยถึงศูนย์กระจายสินค้า อาจจะใช้ในรูปแบบของสหกรณ์มาดำเนินการ เพื่อให้ผลผลิตทั้งหมดอยู่กับผู้ผลิตจริง ๆ และต้องการให้ผู้ผลิตได้ประโยชน์เต็มที่ โดยมีเทศบาลเป็นผู้สนับสนุน ส่วนเรื่องการบริหารจัดการคือผู้ผลิต  Advertisement  เมืองศิลปะนานาชาติ  

         นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศให้เมืองนครสวรรค์เป็นเมืองศิลปะอันดับ 4 ของประเทศ จึงจะมีการสร้างหอศิลป์และศูนย์ประชุมนานาชาติบริเวณท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเกี่ยวกับกฎบัตรแห่งชาติ ในด้านของ MICE and green economy ไมซ์และเศรษฐกิจสีเขียว หากทางกรมธนารักษ์มอบพื้นที่ให้เทศบาลดูแลแล้ว ก็จะเริ่มปรับปรุงฟื้นฟูทันที ซึ่งเดือนที่ผ่านมาเราได้จัดงานศิลปะนานาชาติ โดยให้ศิลปินจากอเมริกาและศิลปินคนไทย ประมาณ 30-40 คน มาวาดภาพประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย รวม 40 กว่าชิ้น ซึ่งผลงานเหล่านี้จะได้เป็นแกลเลอรี่ในคราวที่สร้างหอศิลป์เสร็จ

         พร้อมกันนี้ในช่วงท้ายของกิจกรรมก่อนไปศึกษาดูงานพื้นที่จริง รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. ยังได้ให้เกียรติมาทบทวนเป้าประสงค์ของหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ร่วมด้วย

         สำหรับการเยี่ยมชม “พาสาน แลนด์มาร์คสุดล้ำ แห่งเมืองปากน้ำโพ” นั้นถือเป็น บริเวณตลาดในเมืองนครสวรรค์ จุดเด่นคือ เป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำ “ เจ้าพระยา ” ที่ธรรมชําติ บันดาลให้ แม่น้ำสองสี ปิงและน่านมาบรรจบกัน จาก จุดนี้สามารถนั่งเรือไปยังเกาะกลางลำน้ำเพื่อชมแม่น้ำ สองสีได้อย่างชัดเจน ระหว่างทางยังสามารถซึมซับ วิถี ความเป็นอยู่ของชาวบ้านนที่อาศัยอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาได้ ทั้งสองฝั่ง

         จากนั้นเยี่ยมชม “คลองณวนชวนรักษ์ พื้นที่ชีวิตใหม่ จังหวัดนครสวรรค์” คือจากร่องน้ำเสียสู่คลองน้ำใสบนเกาะญวน ถือเป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางปากน้ำโพ ที่ไม่ได้แค่เลี้ยงปลาโชว์ แต่ตั้งใจให้เล่าเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด เพราะเมื่อน้ำดีแล้ว ขั้นต่อไปจะทำอย่างไรให้ชาวนครสวรรค์ได้เห็นศักยภาพของน้ำ และสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย จึงเกิดเป็นแนวคิดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบเกาะญวนให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลานจัดกิจกรรมเล็กๆ ให้นั่งชมดนตรีได้ มาปั่นจักรยานหรือเดินออกกำลังกายได้ และอีกนัยหนึ่ง พื้นที่แห่งนี้จะช่วยสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนโดยรอบ และมีไฮไลต์ของที่นี่ คือการเลี้ยงปลาคาร์ฟ “ปลาคาร์ฟมันจะอยู่ในน้ำสกปรกยาก การทำให้คนเชื่อว่าน้ำคุณภาพดีจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็ต้องเลี้ยงปลา ซึ่งนี่แสดงให้เห็นศักยภาพของน้ำที่ปล่อยลงในคลองญวนชวนรักษ์ว่าสะอาดขนาดไหนได้

         และปิดท้ายกิจกรรมด้วยการเที่ยวชม”งานตรุษจีนปากน้ําโพ”  ไหว้เจ้าขอพรศาลเหนือ ศาลใต้ แก้ชง ฝากดวงกับเกล็ดมังกร  ช้อป ชิม สวรรค์นักชิม กว่าร้อยร้านค้า และชมการแสดง “คณะมังกรทอง ที่ตื่นเต้น ยิ่งใหญ่ หวาดเสียว ซึ่งมีที่นี้ที่เดียว เมืองมังกร ปากน้ำโพ