บพท. หนุนหลักสูตร พมส. ปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย ครั้งที่ 4

โดย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สอวช. และ สกสว.

ครั้งที่ 4 กับปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย เสริมสร้างกรอบการทำงานระดับชาติ สำหรับหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้หลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ซึ่งส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ โดย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาเมืองจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สอวช. และ สกสว. 

         โดยในวันที่ 23 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 หลักสูตรที่อิงอยู่บนฐานคิดประสบการณ์ของทุกคน ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมือง ภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างกรอบการทำงานระดับชาติ สำหรับหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมือง” ครั้งที่ 4 ขึ้น ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วม และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำหรับการอบรมเริ่มต้นด้วยการ เล่าวิสัยทัศน์การพัฒนา และบรรยายยาพิเศษพร้อมยกตัวอย่างกรณีตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น ให้กับผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นและภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศ จำนวนกว่า 150  คนที่เข้าร่วมทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์    

         โดยท่านแรกได้รับเกียรติจาก นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด อันมีสาระโดยสังเขป ดังนี้  “ผมขอเล่าในฐานะผู้มีประสบการณ์การเป็นนายกต่อเนื่อง 28 ปีแบบไม่เว้นวรรคทางการเมือง นโยบายวิสัยทัศน์ของผม คือ มีความต่อเนื่อง ดึงความหลากหลายไม่ว่าจะเป็น เสน่ห์ของพื้นที่และของชาวบ้านท้องถิ่น และกำจัดจุดอ่อน เพราะบทบาทของผม คือต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสร้างเป้าหมายเดียวกันกับทีม และชาวบ้านทุกคน โดยมีมีเป้าหมาย คือเพื่อพัฒนา แปลงเมือง ตอบโจทย์ชาวบ้าน บ้านเมืองต้องเจริญ โดยใช้การปูพื้นฐานการกระจายอำนาจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการประชาชนภายในพื้นที่ ซึ่งการกระจายอำนาจนั้น ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 40 แล้ว 

         สำหรับจุดเด่นของการบริหารของผม คือ การเชื่อมโยง การสร้างเครือข่าย และการประสานงาน  เช่น ประสานงานบูรณาการกับภาครัฐและเอกชน เพราะเราใกล้ชิดปัญหา แต่ทว่าบางเรื่องเราทำงานคนเดียวไม่ได้ และเราจะไม่ทำงานแบบตั้งรับ จะต้องมีความเป็นผู้นำ และนักพัฒนาซึ่งมีจุดเด่น คือส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ในการทำงานทุกครั้งจะต้องมีการประชุมแลกเปลี่ยน ในฐานะนักพัฒนาระดับสูง ว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นอย่างไร จะต้องไม่ยอมแพ้กับอุปสรรคกรณีเกิดปัญหา เราต้องไม่กลัวไม่ท้อ เราต้องทำประโยชน์เพื่อให้ท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างจริงๆ การพัฒนาเมืองสู่ความสำเร็จ ต้องช่างฝัน ช่างคิด กลับมาดูปัญหาร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมสร้างกลับมาแก้ปัญหาก่อน และมองภาพที่ดีต่อไป ภาพที่เราเห็นโอกาสสร้างความสามัคคี เพราะถ้าเราสามัคคีเราจะเดินหน้าไปได้ดีและประสบความสำเร็จ

         พร้อมถอดบทเรียนจากการขับเคลื่อนเมือง คือ 1) เน้นความสามัคคี เปิดเวที เปิดสภาเมืองให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ได้อภิปรายเพื่อเติมสิ่งที่ประชาชนอยากได้ เพื่อประชาชน เพราะเวที หรือสภาเมือง จะช่วยสนับสนุนฝ่ายบริหาร และเราจะไม่มีการเล่นเกมทางการเมือ งลดปัญหาการเกิดเรื่องไม่เป็นเรื่อง และ 2) เราต้องมีวิสัยทัศน์ เป้าหมายชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพราะเสน่ห์ของเราคือความแตกต่างของพื้นที่ ภาษา และคน เมื่อเราเป็นนักการเมือง เราต้องรู้จักประยุกต์ ดั่งวิสัยทัศน์ของจังหวัดร้อยเอ็ด คือ “ร้อยเอ็ดน่าอยู่ผู้คนน่ารัก” เราต้องทำยุทธศาสตร์พัฒนาเมืองเพื่อเป็นทิศทางให้ทุกฝ่ายเดินไปด้วยกันได้ ในส่วนของการเลือกโครงการในการทำ เพื่อพัฒนาพื้นที่ก็สำคัญเช่นกัน เราจะมองถึงจำนวนค่าเฉลี่ยความคุ้มค่าเป็นหลักและเลือกทำโครงการนั้นก่อน เราต้องเป็นนักพัฒนาเมืองที่คิดหาทางออก ยกตัวอย่างกิจกรรมสาธารณสุขดูแลตั้งแต่ในท้อง คือมุ่งเน้นพัฒนาคนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คือต้องเก่งก่อนเกิด นี่คือการฟูมฟักคนตำนานพัฒนาเมือง”

         “งานทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงได้ ต้องเริ่มจากคนก่อน และพัฒนาคนให้ทันต่อเทคโนโลยี แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาในองค์กรก็จะเป็นเรื่องง่าย เพราะแม้จะมีเทคโนโลยียังไง แต่คนใช้ไม่เป็นก็เปล่าประโยชน์” พร้อมเล่าถึงรูปแบบการทำงานของตน ว่า การที่จะได้รับความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น 1) การที่ตนตื่นตัวอยู่เสมอ 2) คืนประโยชน์ให้ชาวบ้านได้รับเท่ากันหมดทุกคนและคิดเสมอว่าทุกคน คือเพื่อน เราต้องเป็นผู้ให้ก่อน ให้ในที่นี้คือ “ให้ใจ” สนิทเหมือนเป็นพี่น้องในการทำการร่วมกัน 3) และแม้ตนคือ ตัวแทนของเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ แต่ทว่าไม่ได้ยึดติดหรือลุ่มหลงในตำแหน่งนั้นๆ แต่กลับสร้างศรัทธาให้เกิดจากทำงานที่ต้องทำตามนโยบายให้ได้ พร้อมปิดท้ายสิ่งที่อยากเน้น คือ “ประสบการณ์พัฒนาคนที่ได้ใจคน คือสนใจคนที่จะให้เกียรติทุกคนทุกฝ่าย”       

         ด้าน ดร.กิจก้อง นาคทั่ง นายกเทศมนตรีเมืองบางรักพัฒนา จังหวัดนนทบุรี  เล่าว่า “ตนมีการบริหารแบบบูรณาการ มีลักษณะของการเป็นนักพัฒนาแบบถึงลูกถึงคน โดยการบูรณาการที่นักการเมืองต้องขับเคลื่อน คือต้องเริ่มที่ท้องถิ่น และร่วมกับท้องถิ่น เปลี่ยนมุมมองของคนในพื้นที่ให้ได้ และคิดเสมอว่าตำแหน่ง คือการทำงานในหน้าที่ แต่ตำนานคือการเล่าขาน”

         จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน กรณีของประเทศไทย ความสำเร็จและความท้าทาย  ที่ต้องเอาชนะ”  โดย ดร.วินิจ  ร่วมพงษ์พัฒนะ  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ   สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง  เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของโครงการพื้นฐาน มุมมองทิศทางการพัฒนาจากแหล่งเงินที่มีให้ โดยมีสาระโดยสังเขปดังนี้  “นักพัฒนา ต้องรู้ก่อนว่า การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) คืออะไร และชี้ให้เห็นถึงโครงการที่ อปท.สามารถบริหารจัดการได้เอง หรือสามารถขอทุนจาก PPP โดยมีการอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างก่อนว่าโครงสร้างพื้นฐาน เป็นคำที่ไม่มีนิยาม แต่เกิดขึ้นเพื่อ Support บริการสาธารณะ เช่นบริการที่ทุกคนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมเช่น การศึกษา ประปา ระบบราชการ ระบบจราจร และการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ แต่โครงสร้างพื้นฐานนั้น บางโครงการไม่สามารถทำโดยบทบาทรัฐเพียงอย่างเดียว เพราะแหล่งเงินต้นทุนสู่การพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพไม่เพียงพอ เพราะเงินเป็นปัจจัยหลัก บทบาทรัฐ จึงต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมามีส่วนร่วม แบบนั้นถึงจะเรียกว่า PPP อีกทั้ง PPP มีส่วนสำคัญ คือ การจัดการความเสี่ยง เพราะเมื่อโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการมีความเสี่ยง หากรัฐแบกรับอยู่ฝ่ายเดียวก็อาจจะไม่คุ้มค่า เพราะว่ารัฐอาจจะมีความถนัด ความพร้อมด้านนวัตกรรม และฐานข้อมูลไม่เหมือนกับเอกชนในบางเรื่อง ดังนั้นเอกชนจึงต้องเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงตรงนั้น โดยคิดค่าตอบแทนในอนาคตคือค่าใช้จ่ายนั่นเอง พร้อมยกตัวอย่างการใช้นวัตกรรมความเชี่ยวชาญ ประเด็นการเลือก PPP ที่ไม่ต้องรอรัฐบาล

         ต่อเนื่องภาคบ่ายด้วยการเล่าวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีตำบลลำพญา จังหวัดนครปฐม นายขจรเกียรติ นิพัฒน์โภคัย ดังนี้ “ผมเริ่มจากบริหารคนภายในให้ได้ก่อน แล้วจึงกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน และคิดเสมอว่าประเทศจะเป็นประชาธิปไตย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย เราก็จะต้องทำให้ประชาชนได้ดีก่อน เอาข้อได้ข้อเด่นของเมืองมามองหาโอกาสร่วมกัน เพราะพื้นที่ของผมเป็นสังคมเกษตร มีชาวบ้านเกษตรกร มีอากาศที่ดีแต่ทว่าเราจะสามารถสร้างรายได้จากสิ่งที่เรามีได้อย่างไร จึงมาสู่การสร้างความร่วมมือให้เขารักในพื้นที่และร่วมกันสร้างเพื่อพัฒนาพื้นที่ และมีช่องทางการสื่อสารกับทุกๆคนในลักษณะของการเชิญมาประชุม เป็นเหมือนพี่เหมือนน้อง บริการอย่างดี แสดงออกถึงการยินดีรับข้อเสนอของทุกๆคนไปสู่กรรมการ โดยสร้างความรู้สึกให้เข้าถึงได้ง่าย และผมจะมองภาพใหญ่ของประเทศ ว่าจะขยับไปในทิศทางไหนและเราก็จะนำพื้นที่ของเราขยับตาม แต่ทว่าทุกๆอย่างของการบริหารจะต้องอิงอยู่ที่ประชาชนเป็นหลัก ประชาชนจะต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง”

         จากนั้นเป็นบรรยายพิเศษหัวข้อ “ธนาคารโลกกับการเสริมสร้างกรอบการทำงานระดับชาติสำหรับหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมือง” โดย Dr.Jeff Delmon  ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ธนาคารโลก และ นายขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ เจ้าหน้าที่ธนาคารโลกประจำประเทศไทย โดยมีสาระโดยสังเขป ว่าอะไรคือ Public Private Partnership และต้องทำอย่างไรให้เกิดหุ้นส่วนการลงทุนแบบ Public Private Partnership การเตรียมความพร้อมของเมืองให้สามารถทำ Public Private Partnership คุณภาพสูง การสร้างรายได้จากแหล่งของตัวเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ Public Private Partnership แข็งแกร่งและยั่งยืน และปิดท้ายด้วยการตอบข้อซักถาม ที่นักพัฒนาหลายๆ คนสงสัยว่า ทำไมเราจะต้องดึง PPP เข้ามาร่วมลงทุนในรัฐบาล เพราะจริงๆรัฐบาลก็ให้ทั้งเงินพิเศษ เงินในการจัดการอยู่ ซึ่งก็ได้รับคำตอบที่น่าสนใจว่า “ถ้า อปท. สามารถทำงานได้คนเดียว โดยที่ไม่ต้องมีภาคเอกชนมาเกี่ยวข้อง ก็แปลว่า อปท.นั้นมีความสามารถ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง มีเทคโนโลยีดีอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดึง PPP เข้ามา แต่ทว่า อปท. ไม่มีเทคโนโลยี แต่ว่ามีโครงการที่จะต้องทำ ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่ และไม่มีความพร้อมพอ การดึงความร่วมมือจาก PPP เข้ามาช่วยจึงเป็นเรื่องที่พึ่งปฏิบัติ แต่ทว่าการเลือก PPP เข้ามาก็จะต้องให้ความระมัดระวัง และเลือกอย่างเข้าใจเพื่อทำให้เมืองเกิดการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเรื่องงบประมาณ กฎหมายที่จะต้องดูในภาพรวม เพราะความร่วมมือกับ PPP มันคือการทำงานร่วมกันในระยะยาว มีผลในระยะยาว หากเราเข้าใจและเลือกหุ้นส่วนที่ดี ความเสี่ยงก็จะลดลงและก็จะเกิดความยั่งยืนของโครงการที่ทำร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ทั้งจากตัวโครงการเอง และจากพื้นที่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเช่าที่ดิน ค่าโฆษณา และความเจริญด้านโครงสร้างพื้นฐาน”

         การอาศัยการถักทอความร่วมมือของเครือข่ายใน 3 เรื่องหลักๆ คือ 1 การแก้ไขปัญหาจราจร การจัดการขยะ และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากพร้อมกับสะท้อนวิธีคิดว่าในอดีต ตนยึดติดมิติเชิงพื้นที่แต่ในปัจจุบัน ตนคิดที่จะทาบทามเครือข่ายอื่น มาร่วมแรงร่วมใจในการช่วยกันแก้ปัญหา พร้อมกับยึดมั่นแนวทางการบริหาร ที่ว่า “การมีส่วนร่วม โปร่งใส และการกระจายอำนาจ” และในปัจจุบันในการบริหารของตน ได้วิเคราะห์สถานการณ์โลก เพื่อนำมาบริหารเมือง อย่างที่เห็นว่าจังหวัดขอนแก่นมีความเป็นสมาร์ทซิตี้และไมค์ซิตี้ คือตนมองว่าโลกยึดอะไรเป็นมาตรฐานสากล ตนก็จะทำมันให้เกิดขึ้นได้จริงและพัฒนาให้สมสมัย และด้วยในยุคปัจจุบันที่มีข้อจำกัดในการบริหาร แนวทางในการบริหารเทศบาลจึงได้มีการทำโครงการพิเศษขึ้น โดยมีลักษณะที่เรียกว่า ให้คนทุกกลุ่มคนสามารถเข้ามาร่วมสะท้อนได้ มีลักษณะเหมือนเป็นการเสนอต่อสภาเมือง ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นว่าอะไรที่ควรทำ เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมนั่นเอง ดังจะเห็นจากข้อมูลข่าวของเทศบาล อาทิ การจัดตั้งบริษัทจำกัดของ 5 เทศบาลในการสร้างเส้นทางรถไฟ LRT” พร้อมปิดท้ายสิ่งที่อยากเน้น คือ “ขอนแก่นเป็นเมืองโปร่งใส มีส่วนร่วม และทุกคนรักบ้านเกิด”          

         ปิดท้ายการปฎิบัติการบนฐานงานวิจัย ส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ โดย มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สอวช. และ สกสว. ให้กับนายกเทศมนตรีทั่วประเทศด้วยข้อมูลและความร่วมมือระดับประเทศ กับหลักสูตร พมส. ครั้งที่  4 โดยผู้บริหารของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม และ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และ อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)  ที่ได้มีการมาระดมสมอง ชวนมองต่อว่าในเมืองของท่านมีโครงการอยู่มากมายและอยากจะมีโครงการอะไรบ้างที่อยากจะดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับภาครัฐซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะตอบโจทย์ให้กับสังคมและได้ผลที่ดีมากกว่าการทำคนเดียว พร้อมยกตัวอย่างกรณีที่จังหวัดขอนแก่น เริ่มดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมสร้างระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งถือเป็นระบบขนส่งแรกเริ่มของการพัฒนาเมืองให้ฟังเป็นตัวอย่า งพร้อมทิ้งท้ายเป็นประเด็นที่จะมาพบกันใหม่ในครั้งที่ 5 ว่า เราจะมีการนำเอา PPP มา ช่วยอย่างไร และมุ่งสู่เมืองแห่งโอกาสอย่างไร และเมืองของทุกท่านจะเป็นเมืองที่พร้อมรับโอกาสได้หรือยัง