วิเคราะห์ภาคีเครือข่ายการประสานความร่วมมือและการจัดการความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1ครั้งที่ 6

มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP)     “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ผ่านการปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในประเด็นปฏิบัติการพัฒนาระบบและกลไกการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการเปลี่ยนแปลงองค์กรกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Economy and Digital Transformation) พัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Green Economy & BCG) พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Economy) และการพัฒนารายได้ใหม่และกลไกการเงินใหม่ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Financial Mechanism & Special Purpose Vehicle) โดยมีกำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาเมือง : Urban Solutions: Good Health & Well-Being, Energy and Circular Economy  ครั้งที่ 6 ในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาเมืองเริ่มจากการแสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดย นายวิจัย อัมราลิขิต  ได้กล่าวว่า มีหลักการพัฒนาเมืองด้วยหลักธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม การบริหารจัดการที่ดี อาทิ

  1. การมีส่วนร่วม (Participation) ให้โอกาสทุกคนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
  2. การมุ่งฉันทามติ (Consensus Oriented) มีข้อตกลงร่วมกัน มุ่งสู่ความสัมพันธ์อันดีต่อไป
  3. ความรับผิดชอบ (Accountability) รับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจกับปัญหาการบริหารจัดการ กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา
  4. ความโปร่งใส (Transparency) ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ ตรวจสอบได้
  5. การตอบสนอง (Responsiveness) ให้บริการและตอบสนองทุกภาคส่วนในกรอบเวลาที่สมเหตุสมผล
  6. ความเท่าเทียมกันและการคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม (Equity and Inclusiveness) ให้ประชาชนมีความรู้สึกเท่าเทียม ไม่รู้สึกถูกกีดกัน
  7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and efficiency) ผลลัพธ์ตรงกับความต้องการของประชาชน การใช้และการป้องกันสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
  8. การประพฤติตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) ปกครองตามกฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจ เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ลำดับถัดไปเป็นการกล่าวแสดงวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีตำบลวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

โดยนางอรนุช คูวิจิตรสุวรรณ กล่าวว่า มีการพัฒนาโดยเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพประชาชน                 เป็นหลัก  โดยมีการสร้างกิจกรรมต่างๆ มีออกหน่วยตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ มีโครงการสะพานบุญ ที่เปิดให้บริจาคของที่ไม่ได้ใช้แล้วให้เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น เตียงผู้ป่วย รถเข็น เป็นต้น รวมทั้งมีกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี อาทิ จัดกิจกรรมรำถวายเจ้าพ่อแดง เป็นต้น

ต่อด้วยวิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกเทศมนตรีตำบลหนองม่วง จังหวัดลพบุรี โดย นายกิติศักดิ์ วัฒนสิงห์ดำรง กล่าวว่า การพัฒนาโดยเน้นการบริหารและพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีคุณธรรม พัฒนาโดยหลักดูแลประชาชนทุกช่วงวัย นำความต้องการของประชาชนมาเป็นหลักในการกำหนดวิสัยทัศน์ ประชาชนอยู่ดี มีสุข บ้านเมืองน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมที่ดี และเทศบาลมีกิจกรรมรณรงค์ลดปริมาณขยะ มีกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะ มีขบวนแห่ตกแต่งสวยงาม แล้วนำขยะไปขาย เป็นการลดปริมาณขยะ ระบบการบริหารจัดการในเรื่องขยะของเทศบาลไม่มีปัญหาเลย และยังมีรายได้กลับเข้ามาในเทศบาล ส่วนในเรื่องเศรษฐกิจ ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

และลำดับถัดไปเป็น การบรรยายพิเศษหัวข้อ City Data Precipitation: ปฏิบัติการสำรวจข้อมูลเมืองโดย นายวีระวัฒน์ รัตนวราหะ Entrepreneur in Residence Commercial Al and Robotic Ventures (ARV) และ อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย นักวิจัยอาวุโส ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  โดยบรรยายในเรื่องของ แพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการของเทศบาล City Digital Data Platform ชุดข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกระดับเมือง สำหรับวางแผน บริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของเมือง เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ดังนี้

 

ระบบบริหารทรัพย์สิน ระบบที่ช่วยบริหารจัดการงานบริการสาธารณะและทรัพย์สินที่เที่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ได้แก่ ไฟส่องสว่าง ฝาท่อ ต้นไม้ ทางเดินเท้า กล้องวงจรปิด เป็นต้น

ระบบภาษีโรงแรม ระบบการจัดการภาษีโรงแรม เพื่อติดตามสถานะและตรวจสอบยอดชำระค่าธรรมเนียม ช่วยเพิ่มรายได้ให้อบจ. และจัดการยอดค้างชำระได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระบบบันทึกข้อมูลแบบสำรวจเชิงพื้นที่เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแสดงรายงานคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงบริการยื่นเอกสารและทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์

ระบบภาษีป้าย ระบบจัดเก็บภาษีและประเมินราคาภาษีป้ายอัจฉริยะ แบบครบวงจร (One Stop Service) ตั้งแต่การยื่นแบบฟอร์มคำร้องออนไลน์ การตรวจสอบยอดชำระ และการติดตามสถานะ

ระบบควบคุมอาคารและอนุมัติการก่อสร้าง ระบบบริการประชาชนด้านการอนุญาตก่อสร้าง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาร้องเรียนต่างๆ เกี่ยวกับอาคาร อีกทั้งยังมี Mobile Application ให้ประชาชนร้องเรียนปัญหาการก่อสร้างได้อีกด้วย

งานสวัสดิการสังคม Social Welfare ระบบติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก และผู้ป่วย

งานจัดการด้านภัยพิบัติ Emergency Management ระบบสำรวจจัดการและคาดการณ์ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุภัยพิบัติ

งานภาษี Government Tax ระบบบริหารจัดการงานภาษีของอปท. แบบครบวงจร

งานแจ้งเหตุร้องเรียน Public Report ระบบแจ้งเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน

งานบริการสาธารณะ Public Works ระบบริการสาธารณะเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข

สารารณสุขและสิ่งแวดล้อม Health and Environment ระบบวางแผนการให้บริการสารารณสุข

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษหัวข้อ : “นวัตกรรมในการจัดการเมืองสุขภาวะดี” โดย รศ.วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ ผู้ก่อตั้ง กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ นายภานุวัฒน์ พรหมศิริ Co-Founder & General Manager บริษัท เชนโกรท จำกัด  โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้

วิเคราะห์มุมมองการพัฒนาไปข้างหน้าของประเทศไทย

จัดสรรทรัพยากรการคลังอย่างเหมาะสมและรักษาวินัยทางการคลัง

สร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยี

พัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

พัฒนาอุตสาหกรรมโดยพัฒนาเทคโนโลยี

เชื่อมโยงการผลิต เพิ่มกำลังซื้อภายใน

เพิ่มผลิตภาพแรงงาน รักษาสิ่งแวดล้อม

กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม บริการนวัตกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

 

City Wellness Services โดยกิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม

City Wellness Sustainability โดยกิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม

และเริ่มต้นกิจกรรมภาคบ่ายด้วยการกล่าววิสัยทัศน์การพัฒนาของนายกทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดย นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ กล่าวว่า  การพัฒนาเน้นการที่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ ประชาชน ได้รับการศึกษาและเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ ประชาชนมีสุขภาวะอนามัยที่ดี มีสุขภาพดี ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีการส่งเสริมศาสนาวัฒนธรรม และนันทนาการ สืบสาน และอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปิดท้ายด้วย ฝากในเรื่องของเทคโนโลยีว่าเป็นสิ่งสำคัญ อยากให้มีแพลมฟอร์มกลางในการเป็นสื่อกลางในการทำงาน

และลำดับถัดไปเป็น บรรยายพิเศษหัวข้อ : “พลังงานเพื่อการพัฒนาเมือง” โดย ดร.ทรงกฤต ตรีรัตน์พิจารณ์ ที่ปรึกษาบริษัท บูรพา เทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)    โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้        1. หลักการผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังงานทดแทน

– โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Pant)

– โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก (Mini Hydro Power Plant)

– โรงไฟฟ้าชีวมวล (Bio Mass Power Plant)

– โรงไฟฟ้าแก๊สชีวภาพ (Bio Gas Power Plant)

– โรงไฟฟ้าขยะ (Waste to Energy Power Plant)

– โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)

  1. แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
  2. ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ
  3. การประกอบธุรกิจพลังงาน

 

  1. ทิศทางพลังงานในอนาคต

และลำดับถัดไปเป็น บรรยายพิเศษหัวข้อ : “Smart city x  circular economy (How to make value from city waste)”  โดย นายชัยยุทธิ์ พลเสน นายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า และ นายฉัตรณพัฒน์ เทียนมงคล อุปนายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้

  1. แก้ปัญหาเศษกระดาษรีไซเคิลตกต่ำ
  2. แก้ปัญหาการนำ เข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศ
  3. แก้ปัญหาการรับซื้อสินค้ารีไซเคิลจากการเผา
  4. ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  5. การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเรื่อง EPR และ Eco Design

เป้าหมายของสมาคม

  • ยกระดับคุณภาพสมาชิกและผู้ประกอบอาชีพ
  • คุณภาพทางการค้าในวงการธุรกิจค้าของเก่า
  • พัฒนายกระดับความรู้ด้านการจัดการ การค้าขาย ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับสมาชิกและผู้สนใจ
  • พัฒนาความคุณภาพชีวิตของสมาชิกสมาคมฯ
  • การยกระดับคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • เข้าร่วมแก้ปัญหาโครงสร้างการจัดการขยะ
  • ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวงจรออกแบบบรรจุภัณฑ์
  • ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกฎหมายและการทำกิจกรรม
  • การยกระดับคุณค่าทางสังคมและความร่วมมือ
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสมาคมและสมาชิกต่อบุคคลและองค์กรภายนอก
  • สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรอื่นๆ

 

 

การวางแผนบริหารจัดการ

  • Community หมู่บ้านและชุมชนย่อย บ้านจัดสรร คอนโด
  • การให้ความรู้ด้านการรีไซเคิล
  • การให้ความรู้ด้านการจัดการขยะครัวเรือน
  • การสร้างกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่
  • Organization หน่วยงานองค์กรรัฐและเอกชนต่างๆ ตลาดร้านค้า
  • การให้ความรู้และการวางแผนจัดการขยะที่เกิดในองค์กร
  • การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่นำ มาใช้ในพื้นที่
  • การสร้างกิจกรรมร่วมกัน
  • Public spaceพื้นที่ส่วนกลางเช่น ถนน ลำ คลอง ฟุตบาท
  • การวางแผนสื่อสารให้คนทั่วไปที่มาใช้พื้นที่เข้าใจระบบการจัดการขยะในชุมชน
  • การวางระบบจัดการให้สอดคล้องกับแผนการจัดการขยะของพื้นที่

และภายหลังการบรรยายเสร็จสิ้น รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ หน่วยบริหารทุนและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวขอบคุณทุกท่านและกล่าวปิดท้ายว่า วัตถุประสงค์ของทุกท่านก็คงจะเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเรา