ความเป็นมา

มูลเหตุเดิม

       เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2512 นายอุดร ตันติสุนทร  เป็น ส.ส.จังหวัดตาก ครั้งแรก ปิดสมัยประชุม ออกไปเยี่ยมราษฎร พบความทุกข์ของราษฎร จึงหาทางแก้ไข พบว่า ต้องให้มีกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล

งานต่อมา                                       

       เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เมื่อเป็น ส.ส.ตาก ครั้งที่ 3 และเป็นรองเลขาธิการพรรคกิจสังคม ได้เสนอร่างกฎหมายให้มีการก่อตั้ง อบต. ร่วมกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค พบว่า มีอุปสรรคมากมายและร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป เพราะรัฐบาลยุบสภา

       เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็น ส.ส.ตาก ครั้งที่ 5 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม ได้เสนอร่างกฎหมายอบต.อีก 

       เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2537 ได้ผ่านสภา ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล

เริ่มงานก่อตั้งมูลนิธิ

       เมื่อกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ผ่านสภาแล้วนั้น เริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. เมื่อ 2538 ได้พิจารณาเห็นว่า การให้ราษฎรในตำบล เริ่มรู้วิธีจัด การปกครองตนเอง โดยมีนายอำเภอเป็นพี่เลี้ยงไปก่อ จะต้องให้กรมการปกครอง มีนโยบายส่งเสริม จึงได้ปรึกษา กับอธิบดีกรมการปกครองสมัยนั้น ปรากฏว่า ท่านไม่เห็นด้วยกับการให้มี อบต.

       จึงได้ไปร่วมกับ รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, อาจารย์ ดร.สายทิพย์ สุคติพันธ์ และอาจารย์อื่นอีกหลาย ท่านร่วมก่อตั้ง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดย ทางราชการกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จดทะเบียนได้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2539

       มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่พิมพ์เอกสาร เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) , เทศบาล , องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) และท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา

       ตลอดจน การจัดอบรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ประสบการณ์ ระหว่างองค์กรท้องถิ่นกับองค์กรท้องถิ่น และองค์กรท้องถิ่นกับองค์กรอื่น ๆ รวมถึงกับประชาชนทั่วไป

มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีเป้าหมายสำคัญว่า

“ท้องถิ่นเข้มแข็ง : ประชาชนเป็นสุข”

งานของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

1. จัดพิมพ์เผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับการปกครองตนเอง ขององค์การบริหารส่วนตำบล, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้ง กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษด้วย

2. จัดตั้งศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (CLGS) ในอุปถัมภ์ของสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. ร่วมกับ ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลปี ก่อตั้ง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

4. ร่วมกับ ดร.นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์ จัดตั้ง สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำการปกครองท้องถิ่น

5. จัดสัมมนา / เสวนา ให้ความรู้แก่ ผู้บริหาร และ สมาชิกสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

6. ได้ร่วมมือกับมูลนิธิคอนราด อเดนาวด์ ของเยอรมัน, สถาบัน CLAIR ของญี่ปุ่น, สถาบัน KLAIR ของเกาหลี เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

7. เมื่อ 29 เมษายน 2559 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้นายอุดร ตันติสุนทร  เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง

8. เมื่อ 20 มิถุนายน 2559 รองนายกรัฐมนตรี (ดร.วิษณุ เครืองาม) ได้แต่งตั้งให้ นายอุดร ตันติสุนทร  เป็นประธานอนุกรรมการเพื่อทบทวนและจัดทำร่างแผน 3 และบริหารแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่น ด้านการถ่ายโอนภารกิจส่วนท้องถิ่น

“เดี๋ยวนี้ไปที่ไหนหรือไปเยี่ยมประชาชนที่ใด เมื่อได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือดร้อน ของประชาชนก็บอกว่า ให้ไปร้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น”

พระดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานแก่คณะผู้บริหาร ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมร้านกาชาด ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม 2549

อ้างอิงจากจากเอกสารใบอนุญาต

หนังสือ “ช่วงหนึ่งของชีวิต” ชีวประวัติผู้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดย นายอุดร ตันติสุนทร